WORLDMED CENTER Phi Phi

พุงหย่อนคล้อยหลังคลอด ทำอย่างไร?

             สวัสดีคุณแม่ผู้รักสุขภาพทุกท่านครับกลับมาพบกับสาระสุขภาพดีๆสำหรับคุณแม่และลูกน้อยกับ Motherife tips กันเช่นเคยครับ สาระในวันนี้ว่าด้วยเรื่องของปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับว่าที่คุณแม่หลายท่านครับ นั่นคือ ปัญหาน้ำหนักไม่ยอมลด พุงหย่อนคล้อยหลังคลอด วันนี้เรามาทำความเข้าใจภาวะเหล่านี้และทราบวิธีรับมืออย่างเหมาะสมกันครับ

Play Video
พุงหย่อนคล้อยหลังคลอด ทำอย่างไร?

ทำไมตอนตั้งครรภ์น้ำหนักตัวแม่ถึงเพิ่มขึ้น?

พุงหย่อนคล้อยหลังคลอด ทำอย่างไร?

          ก่อนอื่นต้องย้อนกลับไปถึงช่วงเวลาช่วงแรกๆของการตั้งครรภ์กันครับ   โดยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ส่วนใหญ่นั้นจะมาจาก น้ำหนักของลูกในท้อง รกในครรภ์ น้ำคร่ำ ปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นในร่างกายเพื่อใช้หล่อเลี้ยงลูกในครรภ์ มดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยน้ำหนักตัวและโครงสร้างร่างกายของคุณแม่ยังสามารถช่วยให้คำนวณน้ำหนักของลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วย โดยเฉลี่ยแล้วนั้นน้ำหนักจะขึ้นอยู่ประมาณที่ 11-16 กก. อยู่ที่ลูกและน้ำหนักของรกอีกเล็กน้อยที่ราวๆ 3-4 กก. เท่านั้น ที่เหลือคือไขมัน และ การบวมน้ำ จากการตั้งครรภ์ครับ โดยไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมของการตามใจปากแต่อย่างใดครับ และเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อเจ้าตัวเล็กลืมตาดูโลก น้ำหนักจะยังอยู่กับคุณแม่อีกร่วม 10 กก.
แต่ในคุณแม่บางคนอาจมีน้ำหนักค้างอยู่ที่ราวๆ 13-15 กก. นั่นเพราะอาจเป็นกลไกการเตรียมพร้อมร่างกายหลังคลอด ซึ่งไขมันที่สะสมระหว่างการตั้งครรภ์ก็คือ “พลังงานที่ถูกสะสม” ไว้ เตรียมการเพื่อใช้สำหรับการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ บาดแผลที่เกิดจากการคลอด และที่สำคัญก็คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั่นเองครับ

        โดยกลไกที่กล่าวไปข้างต้นเรียกได้ว่าเป็นเรื่องธรรมชาติครับ เพราะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับ ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่อย่างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่จะทำให้ไขมันมาพอกตามร่างกายมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น แก้ม หน้าอก เต้านม หน้าท้อง สะโพก ต้นขา จึงทำให้คุณแม่อาจจะดูเจ้าเนื้อขึ้นมา และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ผลิตออกมาในช่วงตั้งครรภ์ยังทำให้เกิดการบวมน้ำได้ และยังสะสมอยู่ต่อเนื่องหลังคลอดครับ ซึ่งก็ ปรกติครับ

ปัจจัยหลักที่ทำให้คุณแม่ไม่สามาถควบคุมน้ำหนักได้ง่ายๆนั้นมี 2 ปัจจัยดังนี้

1.กินเข้ามากกว่าเผาผลาญออก

       คุณแม่บางท่านอาจกินแบบทบต้นทบดอกเพื่อชดเชยช่วงเวลาระหว่างตั้งครรภ์ที่ต้องควบคุมชนิดอาหาร ปัจจัยนี้เองครับที่ทำให้มีการสะสมพลังงานมากขึ้น รวมถึงการที่ไม่ได้มีการบริหารร่างกายเพื่อเผาผลาญเลย รวมถึงการที่ คุณแม่นั้นเลิกให้นมเร็วเกินไป ยิ่งเลิกเร็วน้ำหนักจะยิ่งพุ่งง่าย นั่นเพราะการให้นมแม่คือวิธีการลดน้ำหนักชั้นดีเลย เนื่องจากร่างกายจะเสียพลังงานไปจากร่างกายอย่างน้อย 500-800 แคลอรี/วัน จากการให้นมนี่แหละครับ อย่างนั้นแล้วส่งต่อคุณประโยชน์จากน้ำนมให้กับเจ้าตัวเล็กยาวนานอีกนิดประกอบการออกกำลังกายเบาๆอีกหน่อย หุ่นเฟิร์มก็จะกลับมาครับ

2.การอดหลับอดนอน

        ปัจจัยข้อนี้ก็หลีกเลี่ยงได้ยากเหมือนกันครับในหลายๆบ้าน ซึ่งต้องเลี้ยงลูก หรือนาฬิกาชีวิตพัง ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่เป็นเวลา ส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ที่ไปกระตุ้นความหิวมีมากขึ้นกว่าปกติ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่อยากกินอาหารเพิ่มขึ้นและเผาผลาญไม่ทันจนเกิดการสะสมของพลังงานส่วนเกินนั่นเองครับ โดยคุณแม่สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการไม่หลับไม่นอนของงลูก เพื่อลดปัจจัยเสียงที่ต้องนอนดึกจากการเลี้ยงลูกได้ใน Motherife EP.4 ครับ

ดังนั้นหากไม่อยากเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนหลังมีลูก ควรมีการการควบคุมแคลอรี่ นอนให้พอพัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

วิธีลดพุงและความอ้วนหลังคลอด

พุงหย่อนคล้อยหลังคลอด ทำอย่างไร?

1.ให้นมลูกต่อเนื่อง 4-6 เดือน นั่นเปรียบเสมือนการใช้พลังงานและดึงไขมันส่วนเกินต่างๆ ตามหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา มาช่วยผลิตน้ำนม ส่งผลให้น้ำหนักของคุณแม่ลดลงได้เร็วขึ้น

2.ดื่มน้ำสะอาดราวๆ 2-3 ลิตรต่อวัน เพราะร่างกายมักจะขาดน้ำในช่วงที่ให้นมลูก การดื่มน้ำจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆครับ และการดื่มน้ำยังช่วยให้ไม่รู้สึกหิวบ่อยอีกด้วย

3.ออกกำลังกายเบาๆ ในช่วง 3 เดือนแรก โดยใช้การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องแต่ไม่หนัก และหลังจาก 3 เดือนไปแล้วควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  เช่น ยกเวท เพิ่มกำลังแขนและขา และเพิ่มความเฟิร์ม ซึ่งวิธีการออกำลังกายที่เป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดที่แนะนำคือ Cardio เพราะจะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ ได้ไวมากขึ้น

4.ทานโปรตีนดี เช่น ปลาเนื้อขาว ปลาแซลมอน ไข่ เนื้อไก่ เนื้อวัวไขมันน้อย เมล็ดธัญพืช เมล็ดถั่ว ควินัว เป็นต้น  เพราะกลุ่มโปรตีนที่ดีจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้อย่างดี ทำให้อิ่มนาน ลดความอยากอาหาร จึงทำให้น้ำหนักลดได้ไวขึ้น

5.ต้องระวังการลดความอ้วนด้วยวิธีลดน้ำหนักที่เร็วเกินไป เช่น การจำกัดแคลอรีแบบ Intermittent Fasting หรือ if เพราะอาจส่งผล ให้คุณแม่ขาดอาหาร และส่งผลต่อคุณภาพการรับสารอาหารของทารกด้วยครับ

6.ปรึกษาคุณหมอ ส่วนนี้นั้นก็เพื่อตรวจสมดุลฮอร์โมน หลังคลอด 3 เดือนนั่นเองครับ

       โดยสรุปครับ หากร่างกายของคุณแม่เข้าสู่สมดุลใหม่หลังคลอด แผลต่างๆ ค่อยๆ ซ่อมแซมตัวเองไป ฝีเย็บแห้ง มดลูกเข้าอู่ น้ำนมเริ่มไหลออกมาดี และร่างกายเริ่มขับน้ำส่วนเกินที่เกิดขึ้นตอนท้องออกไป ประกอบกับการพักผ่อนที่เพียงพอและการทานอย่างมีวินัย น้ำหนักของคุณแม่ก็จะค่อยๆ ลดลง จนกลับสู่ภาวะปกติได้ครับ

ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com

บทความ : พุงหย่อนคล้อยหลังคลอด ทำอย่างไร?

หน้าหลัก
กลับสู่หน้าหลักบทความ
Facebook Comments