WORLDMED CENTER Phi Phi

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด รับมืออย่างไร?

           สวัสดีคุณแม่ผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ กลับมาพบกับสาระสุขภาพดีๆสำหรับคุณแม่และลูกน้อยกับ Motherife Tips กันอีกเช่นเคยครับ สาระในวันนี้จัดได้ว่าเป็นสาระที่มีความสำคัญกับผู้ที่กำลังจะเป็นคุณแม่มากๆเลยครับ เพราะเป็นเรื่องราวของ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งเป็นอาการป่วยนะครับไม่ใช่เรื่องของอุปนิสัยของคุณแม่แต่อย่างใด ซึ่งหากไม่สามารถรับมือได้ทันก็อาจทวีความรุนแรงจนส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณแม่รวมไปถึงลูกน้อยได้ครับ ว่าแล้วก็ไปทำความเข้าใจเรื่องของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดกันครับ โดยผู้เชี่ยวชาญได้จำแนกการป่วยซึมเศร้าหลังคลอดออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ครับ

โดยผู้เชี่ยวชาญได้จำแนกการป่วยซึมเศร้าหลังคลอดออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ครับ
Play Video
1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues หรือ baby blues)
2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) และ
3. โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)
5 เทคนิค ดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์
1.ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues หรือ baby blues)
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด รับมืออย่างไร?

            ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เกิดจากการที่ยังปรับตัวหลังคลอดไม่ค่อยได้ มีความกังวลเรื่องลูก โดยทั่วไปมักมีอาการอยู่ในช่วงสัปดาห์แรก และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ อาการซึมเศร้าหลังคลอด หรือ อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blues, Maternity blues) เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดของคุณแม่ที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด คือประมาณ 50-70%โดยคุณแม่จะมีอาการซึมเศร้าเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ฮอร์โมนที่ลดระดับลงอย่างรวดเร็วจนตรวจไม่พบในกระแสเลือด เชื่อว่าอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณแม่เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ อารมณ์เศร้าของแต่ละคนจะมีความรุนแรงแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่มักจะปรากฏให้เห็นในช่วง 2-5 วันแรกหลังคลอด (ภาวะซึมเศร้ามักจะเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด หลังจากนั้นอาจจะพบได้บ้างประปราย บางทีอาจจะพบหลังคลอดไปแล้วหลาย ๆ เดือนก็ได้ ซึ่งสาเหตุก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อม คนรอบข้าง และปัญหาต่าง ๆ ที่คุณแม่ยังแก้ไม่ตก) และจะเป็นอยู่นานประมาณ 7-10 วัน แต่ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่พบว่าคุณแม่จะมีอารมณ์เศร้าหลังคลอดใหม่ ๆ โดยคุณแม่อาจจะรู้สึกสับสนแปรปรวน มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล จิตใจอ่อนไหว นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารแต่ไม่ถึงกับกินอะไรไม่ได้เลย มีอาการเศร้า เหงา และอาจถึงกับร้องไห้ออกมาโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีมากขึ้นหากคุณแม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกน้อยเพียงลำพัง

 

               ในช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ คุณแม่จะมีความสุขที่ได้อยู่เคียงข้างกับลูกน้อย แต่ไม่นานต่อมากลับพบว่าตนเองรู้สึกเศร้าสร้อย สับสน และเป็นห่วงเป็นกังวลเรื่องการทำหน้าที่แม่ เพราะกลัวว่าจะเลี้ยงลูกไม่ได้บ้าง หรือกลัวว่าจะเลี้ยงได้ไม่ดีบ้าง คุณแม่ควรใจเย็น ๆ ให้เวลากับตนเองสักนิด เพราะการเป็นแม่ที่ดีนั้นต้องอดทนเรียนรู้ และต้องอาศัยทั้งเวลาและความตั้งใจ เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะเนรมิตให้เป็นยอดคุณแม่ได้ในทันที การที่คุณแม่และคุณพ่อได้เรียนรู้ว่าภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง พยายามทำความเข้าใจ และหาทางแก้ปัญหาหรือเตรียมการไว้ตั้งแต่ก่อนคลอด พอหลังคลอดแล้วคุณแม่ก็จะเอาชนะมันได้ ทำให้คุณแม่มีกำลังใจ มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส และสนุกสนานกับการเลี้ยงดูลูกน้อย

แนวทางการรักษา : สำหรับกลุ่มภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะมุ่งเน้นไปที่การดูแลในเรื่องของการปรับสภาพจิตใจเป็นหลัก ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเพราะเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสภาพจิตใจด้วย เช่นการให้เวลาคุณแม่ได้พักผ่อน ไม่ปล่อยให้คุณแม่เลี้ยงลูกตามลำพังเป็นเวลานานๆ การทานอาหารที่มีเซโรโทนินหรือสารสื่อประสาทลดความเครียด การได้รับกำลังใจจากบุคคลรอบข้างด้วยการรับฟังอย่างตั้งใจไม่ตัดสิน

2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)

        เป็นอาการต่อเนื่องจากภาวะซึมเศร้าในข้อแรกนั่นเอง พบได้ประมาณ 10-15% ของคุณแม่ที่มีอาการซึมเศร้า
ซึ่งอาการโดยรวมจะเหมือนกับกลุ่มแรกทั้งหมด แต่จะมีระดับความรุนแรงมากขึ้นมาอยู่ในระดับปานกลาง เริ่มตั้งแต่ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ไม่ลุกจากเตียง ร้องไห้จนเลี้ยงลูกไม่ได้ เครียด กังวล เบื่อหน่าย แต่กลุ่มนี้นั้นจะยังไม่ถึงกับหลุดไปจากโลกแห่งความเป็นจริงครับ บางครั้งอาจผุดภาพอยากทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายลูกแต่ยังสามารถรับมือไม่ลงมือทำร้ายลูกได้ครับ สำหรับระยะอาการนี้มีตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือนเลยทีเดียวครับ และจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่สามารถหายเองได้ และที่สำคัญครับ คุณแม่จำเป็นต้องมีคนเข้ามาช่วยเลี้ยงลูก เพื่อลดความตึงเครียดจากการที่ต้องเลี้ยงลูกตามลำพังที่อาจพัฒนาไปสู่การเป็น “โรคจิตหลังคลอด”ได้ครับ เพราะอย่างนั้นแล้วการมีใครสักคนมาช่วยเป็นคู่คิดร่วมตัดสินใจก็สามารถช่วยคุณแม่ได้มากครับ  และเจ้าโรคซึมเศร้าหลังคลอดนี้เป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนครับ แล้วอาการของโรคจะหายไปได้ในไม่ช้า แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จะซับซ้อนและต้องดูแลรักษานานขึ้นและยากขึ้นนั่นเองครับ

โรคซึมเศร้าหลังคลอด
3. โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)
โรคจิตหลังคลอด

          มักจะเกิดในช่วงหลังคลอด 1-4 วัน ไม่มีใครทราบสาเหตุแน่ชัดว่าภาวะโรคจิตหลังคลอดเกิดจากอะไร แต่มีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนครั้งใหญ่หลังคลอดอาจเป็นตัวกระตุ้น  โดยผู้ป่วยมักมีอาการฉุนเฉียว ร้องไห้ง่าย คึกคัก คล้ายอาการของโรคไบโพลาร์ หูแว่ว ประสาทหลอน บางครั้งก็ได้ยินเสียงสั่งให้ฆ่าลูก ซึ่งแสดงได้ถึงการไม่ได้อยู่กับโลกของความเป็นจริงครับ คนไข้กลุ่มนี้จะมีอาการหวาดกลัวมาก นอนไม่ได้ น้ำหนักลดลงมาก ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะไม่สามารถหายเองได้ อีกทั้งยังมีความอันตรายต่อตัวเองและลูก โดยหากจะเข้าข่ายอาการกลุ่มโรคจิตหลังคลอด จะต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วครับ ไม่ใช่ใครก็เป็นกันได้ง่ายๆ ซึ่งคุณหมอจะดูจาก มีประวัติโรคทางจิตเวช มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคทางจิตเวช มีประวัติการใช้ยาเสพติด การแสดงสัญญาณบ่งชี้การฆ่าตัวตายหรือทำร้ายลูก ซึ่งแนวทางการรักษานอกจากจิตบำบัดแล้ว คนไข้จะได้รับการรักษาโดยจะใช้ยาลดอาการซึมเศร้า ทำให้อารมณ์มั่นคงขึ้น และลดอาการโรคจิตลง หากผู้ป่วยยังไม่ตอบสนองต่อการรักษาก็อาจใช้การรักษาวิธีอื่น ๆ ต่อไปครับ

ดูแลอย่างไร ? หากคุณแม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด รับมืออย่างไร?

1.พูดคุยกับคุณแม่คนอื่นๆ เพื่อให้ได้มุมมองใหม่ๆ

2.เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับลูกในบทบาทคุณแม่ครั้งแรก

3.ครอบครัวที่ให้ความสำคัญกับคุณแม่เท่ากับที่มีให้กับทารก

4.สามี ที่คอยสนับสนุน ให้กำลังใจ และไม่ตำหนิ

5.มีเวลาส่วนตัวให้กับตนเอง ได้ทบทวนวิธีการจัดการอารมณ์

6.และมีเวลาส่วนตัว อย่างน้อยวันละ 1 – 2 ชม.

7.พักผ่อนอย่างน้อยกลางคืน 8 ชั่วโมง และกลางวันอีก 1 ชั่วโมง

8.หาเวลาออกกำลังกาย หรือ กิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย

9.บันทึกภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นช่วงหลังคลอดเป็นระยะ

10.หากคุณแม่มีอาการเศร้า หดหู่ ติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์

ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com

บทความ : ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด รับมืออย่างไร?

หน้าหลัก
กลับสู่หน้าหลักบทความ
Facebook Comments