WORLDMED CENTER Phi Phi

จิตวิทยาการเลี้ยงลูก 10 ประการ

            สวัสดีคุณแม่ผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ กลับมาพบกันกับสาระสุขภาพดีๆ กับ Motherife Tips เช่นเคยครับ หัวข้อในวันนี้น่าสนใจทีเดียวครับเพราะเป็น จิตวิทยาการเลี้ยงลูก 10 ข้อ ที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองของเด็กๆสามารถนำไปประยุกต์เพื่อเป็นแนวทางในการสื่อสารกับลูก เพื่อการเติบโตอย่างมั่นใจรู้จักและเข้าใจตนเอง พัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตได้อย่างแน่นอนครับ จะมีข้อใดบ้างนั้นติดตามไปพร้อมๆกันคร้าบบบบ

Play Video
จิตวิทยาการเลี้ยงลูก 10 ประการ

จิตวิทยาการเลี้ยงลูก 10 ประการที่สามารถประยุกต์ใช้อย่างได้ผล

1. ให้ความอบอุ่นปลอดภัยระหว่างกัน

           สิ่งสำคัญคือความรักความอบอุ่น ความรักแบบไม่มีเงื่อนไขครับ ความเอาใจใส่ที่เพียงพอให้กับลูก เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัย โดยการรับฟังลูกและยอมเปิดใจในความชอบหรือความคิดเห็นของลูก โดยไม่ตัดสินหรือตั้งอยู่บนความคาดหวังหรืออคติของเอง สิ่งที่ได้รับนั้นก็คือ จะทำให้ลูก
ไว้วางใจเรามากขึ้นได้นั้นเองครับ

จิตวิทยาการเลี้ยงลูก 10 ประการ
2. ค้นหาจุดแข็งจุดอ่อนของลูกให้ได้
2. ค้นหาจุดแข็งจุดอ่อนของลูกให้ได้

       คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มสังเกตได้ว่าลูกของคุณพ่อคุณแม่นั้น เริ่มจะแสดงความสนจที่หลากหลายและมีกิจกรรมไม่น้อยที่เค้าแสดงความถนัดออกมา และบางกิจกรรมที่เค้าอาจทำแปปแล้วก็ล้มเลิกไป และสิ่งที่สำคัญที่ทำให้เด็กๆยังคงสนุกกับการเรียนรู้คือ เค้ารู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง เมื่อคุณพ่อคุณแม่คอยซัพพอร์ต หรือ คอยโน้มน้าวลูกเมื่อในยามรู้สึกผิดหวังหรือล้มเหลว การสังเกตและบันทึกสิ่งที่เป็นจุดอ่อนจุดแข็งของลูก จะช่วยให้การจัดวางกิจกรรมที่เค้าชอบทำนั้น ยาวนานมีประสิทธิภาพ และอีกทางหนึ่งคือเค้าจะไม่ด้อยค่าความล้มเหลว และรู้จักตนเองมากยิ่งขึ้น

3. การพูดคุยสื่อสารกันระหว่างพ่อแม่และลูก

        แน่นอนว่าการพูดคุยกันเป็นการลดช่องว่างระหว่างวัย และบรรเทาหรือคลี่คลายปัญหาภายในใจได้ แถมยังทำให้ลูกเปิดใจกับเราได้มากขึ้น โดยระหว่างการสื่อสารนั้น ท่าทีที่ดูตั้งใจฟัง มีการสบตา และพยักหน้าระหว่างฟังลูก คือสิ่งที่สำคัญมากๆ อีกทั้งการพูดกระตุ้นเช่น “เป็นอย่างไรต่อ หรือ ลูกคิดอย่างไรกับสิ่งนี้” ก็เหมือนเป็นการกระตุ้นให้ลูกเผยความในใจ ท้ายบทสนทนาหากมีเรื่องที่ลูกอาจเข้าใจผิดหรือปฏิบัติผิดไปสามารถให้คำแนะนำ และวิจารณ์ด้วยเหตุผลโดยไม่ใช่อคติ และติดสิน โดยใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้เขาหาทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองเสียก่อน

3. การพูดคุยสื่อสารกันระหว่างพ่อแม่และลูก
4. การควบคุมอารมณ์
4. การควบคุมอารมณ์

      อารมณ์ด้านลบเป็นเหมือนเชื้อร้ายที่ส่งผลต่อผู้รับรู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน คุณพ่อคุณแม่เองก็อาจมีช่วงเวลาที่ไม่ดีได้ จนเผลอส่งต่ออารมณ์ที่รุนแรงสู่ลูกๆ คำกล่าวที่ว่า ลูกคือเงาสะท้อนของตัวเราจึงไม่ไกลนัก การแสวงหาเทคนิคเพื่อหยุดยั้งอารมณ์โกรธ ฉุนเฉียว หงุดหงิด เช่นนับ 1-10 ในใจ หรือเดินอออกไปเพื่อสงบสติอารมณ์ เป็นการให้เวลาตัวเองได้ทบทวนภาวะอารมณ์ที่ซับซ้อนในความเป็นผู้ใหญ่ หากสามารถควบคุมอารมณ์ได้ผู้ปกครองเองก็สามารถเข้าใจความเป็นเด็กได้ และสามารถสอนให้เค้าตระหนักถึงผลของการแสดงอารมณ์ได้นั่นเองครับ

5. ตั้งกติกาในบ้าน

     ในยุคที่เด็กอาจจะเข้าใจความหมายของคำว่า มาตรฐาน การตั้งกติกาภายในบ้านกับลูกจึงต้องมมีมาตรฐานไปด้วย การตั้งกติกาจึงเป็นการตกลงกันกับสมาชิกในบ้านทุกคน ไม่ให้เกิดความสับสน คุณพ่อพูดอย่างหรือคุณแม่พูดอีกอย่าง เพื่อลดช่องว่างความห่างเหินภายในครอบครัว และสร้างพื้รฐานการเคารพกติกาทางสังให้กับลูกได้อย่างเห็นภาพครับ

6. อย่าเปรียบเทียบ
จิตวิทยาการเลี้ยงลูก 10 ประการ

            การเปรียบเทียบลูกของเรากับลูกของคนอื่น สร้างบาดแผลทางใจไม่น้อย แม้แต่ในจิตใจของผู้เป็นพ่อแม่บางท่านก็อาจเคยผ่านสถานการของการเปรียบเทียบมาแล้วเช่นกัน หลักคิดคืออย่ามองลูกของเราว่าเขาด้อยหรือไม่ดีไปกว่าใคร สิ่งที่เราสามารถบอกกับลูกได้นั่นก็คือ “ทุกคนล้วนมีความแตกต่างกันแม้จะมีอะไรเหมือนๆกันก็ตามครับ” เพื่อให้เค้าไม่ด้อยค่าในสิ่งที่เค้ากำลังพยายาม และพัฒนาตนเองในทิศทางที่เหมาะสมต่อไปครับ

7. มีทางเลือกที่มากกว่าเสมอ

          เด็ก ๆ จะรู้สึกว่าตัวเองนั้นเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ที่เค้าจะสามารถแสดงความคิดเห็หรือกำหนดทางเลือกให้กับตนเองได้ และ ตัวอย่างเช่น “กลับไปถึงบ้านแล้ว จะอาบน้ำก่อนหรือทำการบ้านก่อนค่ะ หรือมีสิ่งที่อยากทำนอกจากนี้มั๊ย” โดยตัวเลือกจะไม่จำกัดอยู่ที่ A หรือ B เพื่อให้ลูกสามารถเลือกช้อยส์อื่นอย่าง C D ในแบบของเค้าเข้ามา เมื่อมีตัวเลือกมากๆคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถฝึกให้เค้าจัดลำดับความสำคัญในกิจวัตรของตนเองได้อย่างเป็นอัตโนมัติมากขึ้นนั่นเองคร้าบ

8. ให้ลูกเรียนรู้ความความผิดพลาดและความผิดหวัง
จิตวิทยาการเลี้ยงลูก 10 ประการ

      ความผิดพลาดและความผิดหวังมีภาพสะท้อนเป็นความเสียใจของลูก แต่จะดีไม่น้อยหากเค้าสามารถเข้าใจได้ถึงสภาวะนั้นและยอมรับว่าทุกสิ่งสามารถสำเร็จและล้มเหลวได้ เช่นลูกโป่งแตกซ่อมไม่ได้แต่เราสามารถเก็บออมเงินซื้อมาใหม่ได้ หรือน้ำเป็นเป็นน้ำแข็งได้และละลายกลับเป็นน้ำได้ ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่ทำให้เค้าเข้าใจวัตรถจักของการมีอยู่ และการย้อนกลับ ว่าสิ่งใดเริ่มต้นใหม่ได้และสิ่งใดสิ้นสุดเพื่อให้เค้าสามารถที่จะปรับตัวเข้ากับตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ในอนาคตอีกด้วยครับ

9. ความกลัวสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างสำหรับลูก

        ลูกสามารถจะเติบโตไปได้อีกหลายแบบโดยที่พ่อแม่อาจไม่รู้ตัว ถ้าความกลัวสร้างระเบียบวินัยให้ลูก คุณพ่อคุณแม่อาจจะพอใจ แต่ก็อาจทิ้งร่องรอยบาดแผลทางจิตใจไว้ให้เด็ก ๆ ขณะที่บางทีความกลัวอาจส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ การสื่อสารสาร หรือฝังลึกเป็นบุคลิกภาพ การให้เค้ารู้จักความเมตตา การแบ่งปันและการเห็นอกเห็นใจจะสร้างผลลัพธ์ทางบวกต่อจิตใจมากกว่าครับ

10. สอนให้ลูกแสดงออกความรู้สึกออกมาอย่างที่เขารู้สึก ไม่จำเป็นต้องเขินอาย
จิตวิทยาการเลี้ยงลูก 10 ประการ

      คุณพ่อคุณแม่อาจรับมือกับการผันแปรทางอารมณ์ของลูกได้ลำบากโดยเฉพาะกับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่อาจไม่มีประสบการณืในการดูแลเด็กๆ การปลอบประโลมด้วยคำว่า “อย่าร้องเลยลูก” หรือ “หยุดร้องนะลูก” เพื่อหยุดพฤติกรรมจึงถูกนำมาใช้ แต่ในอีกวิธีหนึ่ง การปล่อยให้เขาได้มีโอกาสแสดงความรู้สึกของเขาออกมาทำให้เค้ารับรู้สภาวะของตนเองได้ชัดเจน ว่าเค้ากำลังรู้สึกอะไร และนิยามอารมเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องเมื่อเค้าโตขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเก็บงำเพื่อหลบหลีกการตำหนิติเตียนจากผู้อื่น ให้เค้าค่อยๆปรับตัวและจัดการสภาวะอารมณ์ของตัวเองได้ถูกจุดเหมือนการแยกผ้าเข้าสู่ลิ้นชักต่างๆ ของตู้เสื้อผ้านั่นเอง

           และนี่คือ 10 วิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปปรับใช้กับลูกๆครับ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดมีเทคนิคการเลี้ยงลูกดีๆ สามารถแชร์เทคนิคดีๆเหล่านั้นแก่สมาชิคทุกท่านได้ครบนับเป็นการแลกเปลี่ยนที่ดีมากๆครับ

ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com

บทความ : จิตวิทยาการเลี้ยงลูก 10 ประการ

หน้าหลัก
กลับสู่หน้าหลักบทความ
Facebook Comments