ลูกร้องไห้ไม่หยุด แบบนี้ใช่อาการโคลิครึเปล่า?
สวัสดีคุณแม่ผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ กลับมาพบกับสาระสุขภาพดีๆสำหรับคุณแม่และลูกน้อยกับ Motherife tips กันอีกเช่นเคยครับ ใน EP. ที่ 15 นี้ว่ากันถึงเรื่องของการร้องไห้แบบยาวนาน ลูกร้องไห้ไม่หยุด แบบนี้ใช่อาการโคลิครึเปล่า? ดังที่คุณแม่อาจเคยได้ยินหรือเคยเห็นในสื่อโซเชียล กรณีของเด็กที่ร้องไห้ยาวนานในที่สาธารณะ วันนี้เรามาทำความรู้จักและเข้าใจอาการการนี้ไปพร้อมๆกันครับ
ลูกร้องไห้ไม่หยุด แบบนี้ใช่อาการโคลิครึเปล่า?
คุณแม่สามารถสังเกตปฏิกิริยาของอาการโคลิคได้ดังต่อไปนี้
1.ทารกจะร้องไห้ขึ้นมาแบบไม่มีสาเหตุและการร้องไห้นั้นอาจใช้เวลานานมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวันและร้องไห้อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์รวมทั้งร้องไห้ในลักษณะนี้ติดต่อกันได้นานถึง 3 สัปดาห์เลยที
2.นอกจากการร้องไห้แล้วระหว่างนั้น ทารกอาจแสดงอาการเหมือนเจ็บป่วยทางกายอาจมี เช่น กำหมัด แอ่นหลังขึ้นและยกเข่าขึ้นมาชิดหน้าท้อง และหากสังเกตดีๆทารกเวลาร้องไห้เค้าจะหน้าแดงจนสังเกตได้ครับ
ปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุ
ของอาการ “โคลิค” ได้แก่
1.สิ่งเร้าและสภาพแวดล้อม : เนื่องจากร่างกายของเด็กทารกนั้นยังใหม่กับสภาพแวดล้อมทำให้ในบางครั้งอาจจะยังไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมหรือสิ่งเร้าต่างๆ เช่น แสง สี เสียง หรืออากาศ จึงทำให้เด็กทารกมีความไวต่อสิ่งเร้าและไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จนร้องไห้แลไม่สามารถทำให้ตัวเองสงบลงได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากทารกมีความคับข้องใจแบบปกติการร้องไห้จะใช้เวลาราวๆ 30 นาทีหรือน้อยกว่าเท่านั้น
2.ร่างกายของเด็กที่มีความไวต่อระบบย่อยอาหาร : ทารกนั้นยังใหม่กับอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งในบางครั้งอาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารหรือกระเพาะอาหารย่อยได้ไม่ดี เมื่อเป็นเช่นนั้นจะทำให้ทารกเกิดอาการไม่สบายท้องแล้วตอบสนองต่อความไม่สบายทางการออกมานั่นเองครับ
3.การแพ้อาหาร : การแพ้อาหารเกิดได้เช่น การแพ้นมวัว หรือการย่อยแลคโตสผิดปกติ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางส่วนเชื่อว่านี่อาจเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดอาการโคลิค
แล้วจะรับมือกับอาการโคลิคอย่างไร ?
1.หมั่นจับลูกเรอ หลังให้นมเสร็จ และการให้นมควรให้ในท่าเอียงหรือตั้งขึ้น เพื่อที่จะสามารถทำให้น้ำนมไหลลงกระเพาะได้ง่าย ลดอากาศที่จะผ่านเข้าไปสู่ท้องจนทำให้เกิดความไม่สบายท้องได้
2.ระหว่างที่ลูกร้องไห้ให้อุ้มลูกชิดกับหน้าอก เพื่อให้เค้าได้ยินเสียงเต้นของหัวใจคุณพ่อคุณแม่
3.ใช้การอาบน้ำอุ่นและนวด เพื่อสร้างความผ่อนคลาย
4.จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ลดสิ่งเร้าอย่างแสงไฟที่แยงตา หรือลมที่เย็นเกินไป เป็นต้น
5.ให้เค้าดื่มนมแม่เป็นหลักตลอด 6 เดือนแรก เพราะนมแม่จะมีคุณสมบัติที่ย่อยง่ายนั่นเอง
สรุปแล้วโคลิคไม่ใช่อาการร้ายแรง และสามารถหายไปเองตามธรรมชาติ แต่สิ่งสำคัญในฐานะคุณพ่อ
คุณแม่ การให้เค้าได้รับการตรวจสุขภาพหรือการหมั่นสังเกตอาการป่วยของเด็กๆนั้นเป็นสิ่งสำคัญครับ เพราะภาวะสุขภาพที่เด็กๆเผชิญอยู่อาจไม่ใช่อาการโคลิคแต่อาจเป็นความเจ็บป่วยจากโรคอื่นก็เป็นได้ครับ Motherife
ขอเป็นอีก 1 กำลังใจให้กับคุณพ่อ คุณแม่ และ เด็กๆ ในการก้าวผ่านทุกการเติบโต ทุกภาวะสุขภาพครับ
ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com
บทความ : ลูกร้องไห้ไม่หยุด แบบนี้ใช่อาการโคลิครึเปล่า?