WORLDMED CENTER Phi Phi

ลูกสมาธิสั้น หรือ แค่ซน

        สวัสดีคุณแม่ผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ กลับมาพบกับสาระสุขภาพดีๆสำหรับคุณแม่และลูกน้อยกับ Motherife Tips ครับ หลังจากที่ผู้ปกครองหลายท่านได้ชม Ep ที่ 4 ไปครับ จะมีภาวะหนึ่งที่เรียกว่า ADHD หรือโรคสมาธิสั้นนั่นเอง โดยโรคนี้มีสัญญาณเป็นอย่างไรต่างกับพฤติกรรมซนตามวัยอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจประเด็นเหล่านี้ ผ่านหัวข้อ
” ลูกสมาธิสั้น หรือ แค่ซน “ กันครับ

ลูกสมาธิสั้น หรือ แค่ซน

Play Video
       โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder – ADHD) คือ โรคทางพัฒนาการทางระบบประสาทที่มักส่งผลกระทบต่อเด็ก และมักแสดงอาการต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ อาการของผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้น มักมีลักษณะเฉพาะคือ สมาธิสั้น และความหุนหันพลันแล่น ซึ่งอาจรบกวนการทำงานหรือพัฒนาการในด้านต่าง ๆ โรคสมาธิสั้น จัดเป็นหนึ่งในความผิดปกติทางพัฒนาการทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก และอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตในหลาย ๆ ด้าน เช่น อาจส่งผลต่อการเรียน ความสัมพันธ์ทางสังคม และคุณภาพชีวิต
         โดยสิ่งที่บางท่านอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นก็คือ โรคสมาธิสั้นเกิดจากความตั้งใจ หรือแกล้งทำ แต่ข้อเท็จจริงคือ โรคสมาธิสั้นเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า และสารสื่อประสาทบางตัวที่หลั่งผิดปกติทำให้สมองไม่สามารถจดจ่ออยู่กับอะไรที่ต้องใช้ความตั้งใจได้นาน เช่น การทำการบ้าน การอ่านหนังสือ ฯลฯ คนที่เป็นโรคนี้คล้ายกับรถที่ไม่มีเบรคจึงพร้อมที่จะเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลานั่นเอง
5 เทคนิค ดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์

สังเกตพฤติกรรม 3 กลุ่มที่เป็นสัญญาณโรคสมาธิสั้น

ลูกสมาธิสั้น หรือ แค่ซน

ซนมาก (Hyperactivity)

ไม่มีสมาธิ (Inattention)

หุนหันพลันแล่น (Implusivity)

  • ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ โดยมักจะขยับตัวไป แม้แต่ในเวลาที่ควรอยู่กับที่ เช่น ในห้องเรียน 
  • พูดเร็ว พูดเก่ง พูดได้ต่อเนื่องไม่มีหยุด 
  • เล่นได้แบบไม่มีเหนื่อย และมักเล่นกับเพื่อนแรง 
  • บางครั้งมักจะเสียการโฟกัสจากงานนั้นได้โดยง่าย จนไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
  • ไม่สามารถจอจ่อกับงาน หรือสิ่งใดๆได้ แม้แต่กับบทสนทนา 
  • มีอาการเหม่อลอยบ่อย ๆ 
  • ขี้ลืม มักจะลืมสิ่งของที่จำเป็น 
  • มีปัญหาในการทำงานที่ต้องมีการจัดการ เช่น งานที่มีขั้นตอนในการทำ หรือ การจัดการเวลา
  • มักทำอะไรโดยที่ไม่ได้มีการคิดก่อนจนหลายครั้งนำมาสู่อันตราย
  • ไม่สามารถรอคอยได้ 
  • มักจะไม่ฟังคำถาม หรือประโยคของคู่สนทนาให้จบก่อน โดยจะสวนตอบขึ้นมาเลย 
  • มักจะทำอะไรแบบไม่คิดก่อน

         การเป็นโรคสมาธิสั้นนั้นไม่จำเป็นต้องมีอาการเหล่านี้ทั้งหมด ในเด็กบางคนอาจจะมีแค่อาการที่ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อได้ หรืออาจจะมีอาการเพียงซนมาก และหุนหันพลันแล่น (ซนมาก และหุนหันพลันแล่นนั้นมักมาคู่กัน) 

แนวทางฝึกปฏิบัติเพื่อการดูแลเด็กๆ กลุ่มสมาธิสั้น

1.จัดตารางชีวิตของลูก ไม่ว่าจะเป็นเวลาตื่นนอน เวลาเข้านอน เวลาทานอาหาร หรือเวลาสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ โดยให้เป็นตารางเวลาที่แน่นอนในทุก ๆ วัน  

2.จัดระเบียบสิ่งของที่จะต้องใช้ในแต่ละวันให้เป็นระเบียบ และอยู่ในที่เดิมเสมอ 

3.มีความชัดเจน และต่อเนื่อง เพราะกฎที่มีความต่อเนื่อง และคงเดิมนั้นจะช่วยให้พวกเขาสามารถเรียนรู้ และทำตามได้มากกว่าการที่เปลี่ยนสิ่งที่ตกลงกันไว้ไปมา 

4.หากพวกเขาสามารถทำตามกฎ หรือสิ่งที่ตกลงกันไว้ได้ ควรให้กำลังใจ คำชม หรือรางวัลเพื่อเสริมแรงให้พวกเขามีพฤติกรรมเหล่านั้นต่อไป 

ลูกสมาธิสั้น หรือ แค่ซน

           โดยสรุปคือ เด็กซนไม่ใช่เด็กซนสมาธิสั้นเสมอไป เพราะการซนถือเป็นธรรมชาติในการเรียนรู้ของเด็ก เพียงแต่การที่ความสามารถในการคุมตัวเอง หรือติดเบรคให้กับพฤติกรรมที่พัฒนาช้ากว่าเกณฑ์ จะทำให้เด็กซนสมาธิสั้น ไม่สามารถคุมตัวเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ จึงเกิดอาการซนในทุกที่ ซนในทุกสถานการณ์ ซนจนไม่สามารถทำงานต่างๆ ให้เสร็จตามเวลา ซนจนลืมสิ่งที่ได้มอบหมาย หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าบุตรหลานมีอาการดังกล่าว หมอแนะนำให้ไปพบคุณหมอที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอนต่อไปครับ

ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com

หน้าหลัก
กลับสู่หน้าหลักบทความ
Facebook Comments