WORLDMED CENTER Phi Phi

วิธีสต็อคน้ำนมแม่ อย่างมีประสิทธิภาพ

        สวัสดีคุณแม่ผู้รักสุขภาพทุกท่านค่ะ ^^ กลับมาพบกับสาระสุขภาพดีๆสำหรับคุณแม่และลูกน้อยกับ Motherife Tips EP. ที่ 9 กันแล้วนะค๊ะ วันนี้เป็นเรื่องราวของ น้ำนมแม่ เนื่องจากน้ำนมแม่มีสารอาหารที่ค่อนข้างครบถ้วน มีความสำคัญอย่างยิ่งกับเด็กวัยแรกเกิด ช่วยให้ทารกมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมบูรณ์ และสำหรับคุณแม่ เวลาต้องออกไปทำงานนอกบ้านแล้วต้องปั๊มน้ำนมเก็บไว้ วันนี้เรามาเผยขั้นตอนและ วิธีสต็อคน้ำนมแม่ อย่างมีประสิทธิภาพ กันค่ะ

Play Video
วิธีการเก็บน้ำนมแม่ที่ง่ายที่สุดและสะดวกมั่นใจได้มากที่สุดนั่นก็คือการเก็บไว้ในตู้เย็น
วิธีสต็อคน้ำนมแม่ อย่างมีประสิทธิภาพ
การเก็บน้ำนมที่ปั๊มแล้วไว้ในช่องต่างๆในตู้เย็น
สำหรับช่องธรรมดาที่ไม่มีของอื่นปะปนอยู่เลยจะเก็บได้ราวๆ 5 วัน ถ้าเก็บในช่องธรรมดาที่มีของอื่นปะปนอยู่ด้วยก็จะเก็บได้ราวๆ 2-3 วัน (72 ชั่วโมง)
หากเก็บไว้ในช่องแช่แข็งถ้าเก็บได้ประมาณ 2 สัปดาห์
แต่ถ้าบ้านไหนมีตู้เย็นแบบประตูช่องแช่แข็งแยกจากประตูใหญ่แล้วก็จะเก็บไว้ได้นานถึง 3 เดือน
กรณีฉุกเฉิน คุณแม่สามารถใช้กระติกน้ำแข็งทดแทนได้จ้า 
วิธีสต็อคน้ำนมแม่ อย่างมีประสิทธิภาพ
สต็อคน้ำนม อย่างเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
ล้างขวดนม

1.ภาชนะทุกชนิดที่นำมาใช้คนผ่านการฆ่าเชื้อทุกครั้ง โดยแนะนำให้ใช้ถุงเก็บน้ำนมโดยเฉพาะ เพราะนอกจากจะทำให้น้ำนมแข็งเร็วแล้ว การละลายยังทำได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วย แต่สำหรับภาชนะที่เป็นแก้วนั้นหลังจากนั้นไม่แนะนำครับนั่นเพราะเซลล์เม็ดเลือดขาวในน้ำนมแม่ที่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันการการติดเชื้อนั้นอาจจะติดอยู่กับแก้วที่ใช้เป็นภาชนะได้

วิธีสต็อคน้ำนมแม่ อย่างมีประสิทธิภาพ

2.คุณแม่ควรติดฉลากที่หน้าถุงเก็บน้ำนมคุณแม่ทุกครั้ง โดยเขียนกำกับด้วยว่าน้ำนมปั๊มวันที่เท่าไหร่ เวลาอะไรเพื่อให้ง่ายต่อการนำมาใช้ เพื่อให้การเก็บรักษาน้ำนมเป็นไปตามระบบนั่นเอง

3.ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนการปั๊มน้ำนม รวมถึงอุปกรณ์ทุกอย่างที่นำมาใช้จะต้องสะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันแบคทีเรียจากปนเปื้อนเข้ามาในน้ำนมได้

วิธีสต็อคน้ำนมแม่ อย่างมีประสิทธิภาพ

4.หากคุณแม่ต้องการแช่แข็งน้ำนมที่ปั๊มควรทำทันทีหลังจากที่ปั๊มนมเสร็จแล้ว นอกจากนั้นคุณแม่ไม่ควรปั๊มจนเต็มถุงควรเหลือพื้นที่ว่าเอาไว้นิดนึงเพราะเมื่อแช่แข็งแล้ว น้ำนมจะขยายตัวมากขึ้นอาจทำให้หกเลอะเทอะได้จ้า

5.น้ำนมแม่ที่แช่แข็งไว้นั้นหากต้องการนำมาใช้ ให้ทำการละลายด้วยการแช่ในตู้เย็นปกติประมาณ 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำมาแช่ในน้ำอุ่น ก่อนนำมาให้ลูกรับประทาน สิ่งที่คุณคำนึงคือ “ไม่ควรนำไปอุ่นด้วยไมโครเวฟหรือละลายในน้ำร้อนจัด” เพราะจะเป็นการทำลายเซลล์ที่มีชีวิตที่อยู่ในน้ำนมแม่นั่นเอง

น้ำนม
การแช่นม

6.ไม่ควรปล่อยให้น้ำนมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้องหากคุณแม่ลืมแล้วต้องการให้ละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาในอุณหภูมิปกติแล้วเปลี่ยนเป็นแช่น้ำอุ่นอีกทีนึงก็เป็นที่เรียบร้อยจ้า

7.หากคุณแม่มีแผนใช้น้ำนมภายใน 8 วันหลังจากการปั๊ม คุณแม่ไม่จำเป็นต้องแช่แข็งน้ำนม โดยให้แช่น้ำนมในตู้เย็นช่องปกติก็เพียงพอ เพราะถ้าต้องการแช่แข็งนั้นควรจะ
แช่แข็งภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังจากการปั๊มออกมานั่นเอง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับน้ำนม

1.น้ำนมแม่ที่แช่แข็งไว้เมื่อไหร่แล้วนั้นยังสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึง 24 ชั่วโมง
2.ไม่ควรนำนมแช่แข็งที่ละลายแล้วกลับเข้าไปแช่แข็งอีกนะครับ
3.น้ำนมแม่ที่ละลายแล้วนั้นหากลืมวางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องนานเกิน 1 ชั่วโมงขึ้นไป มีข้อแนะนำว่าให้คุณแม่ทิ้ง ไม่ควรนำกลับมาให้ทารกบริโภค
4.น้ำนมแม่ที่ละลายแล้ว หากมีกลิ่นหืนยังถือว่าปกติ แต่ถ้าหากมีกลิ่นรุนแรง มีรสเปรี้ยวแสดงว่าน้ำนมนั้นเสียไปแล้ว สำหรับวิธีลดกลิ่นหืนในน้ำนมนั้นก็คือ เวลาคุณแม่ปั๊มน้ำนมใส่ถุงให้คุณแม่พยายามไล่อากาศออกจากถุงให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะแช่เย็น และในส่วนการจัดวางถุงน้ำนมนั้น ควรวางเรียงถุงน้ำนมในแนวนอนราบจะดีที่สุดจ้า ^^

ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com

บทความ : วิธีสต็อคน้ำนมแม่ อย่างมีประสิทธิภาพ

หน้าหลัก
กลับสู่หน้าหลักบทความ
Facebook Comments