ตะคริวกินขา ปัญหาสุขภาพ
ตะคริวกินขา ปัญหาสุขภาพ สวัสดีท่านผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ พบกับสาระสุขภาพดีๆกับ Admin Worldmed กันอีกเช่นเคยครับ ทุกท่านเคยหรือไม่ครับนอนหลับสนิทอยู่ดีๆก็เป็นอันต้องสะดุ้งตื่นจากอาการตะคริว ซึ่งนิยามของ“ตะคริว คือ “อาการหดเกร็ง” ที่ทำให้กล้ามเนื้อปวดและเป็นก้อนแข็ง ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้มีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อมัดที่เกิดการหดเกร็ง สร้างความเจ็บปวดทรมานชั่วขณะหนึ่งเลยทีเดียวเลยใช่หรือไม่ครับ แถมจริงๆแล้วตะคริวเนี่ย ยังสอดคล้องสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพอื่นๆด้วยนะครับวันนี้เราจะมาไขความกระจ่างของตะคริวกันครับ
ตะคริว มักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1.การนอน นั่งหรือยืนในท่าที่ไม่สะดวกเป็นระยะเวลานานจนเกินไป
นอนลักษณะของเท้าที่ไม่ถูกต้อง เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดตะคริวตอนนอน ในผู้สูงอายุหากนอนอยู่ในท่าเหยียดขาตรง ข้อเท้างองุ้ม และปลายเท้าชี้ลงพื้น ซึ่งคล้ายกับท่ายืนด้วยปลายเท้า อาจทำให้กล้ามเนื้อน่องหดเกร็งและเสี่ยงต่อการเป็นตะคริวได้ง่ายกว่าปกติครับ
2.ดื่มน้ำน้อยเกินไป
หากดื่มน้ำน้อยเกินไปก็จะทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ นอกจากนี้ยังพบว่า หากร่างกายขาดสมดุลของเกลือแร่อย่างโซเดียมและโพแทสเซียม อันได้แก่ ท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมาก หรือรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล ก็อาจทำให้เป็นตะคริวรุนแรง และเกิดกับกล้ามเนื้อหลายส่วนของร่างกาย แถมเป็นตะคริวครั้งหนึ่งก็เป็นอยู่นานทีเดียวครับ
3.ใช้งานกล้ามเนื้อมากไป จนอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อล้า กล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่น
ท่านที่ออกกำลังกายอย่างหนัก ใช้เวลาทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงขาหนักมาก อาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและนำไปสู่ตะคริวตอนนอนได้ นอกจากนี้ยังมีอาการเส้นเอ็นหดตัว ซึ่งเส้นเอ็นนั้นเป็นเนื้อเยื่อที่ช่วยเชื่อมกล้ามเนื้อกับกระดูกเข้าไว้ด้วยกัน หากเส้นเอ็นหดตัวสั้นลงเกินไปก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
4.เส้นประสาททำงานผิดปกติ และ หลอดเลือดแข็งหรือตีบตัน
ในทางการแพทย์สาเหตุของการเกิดตระคิวก็อาจมาจาก เส้นประสาททำงานผิดปกติ เส้นประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวาน ปลายประสาทอักเสบ โรคพาร์กินสัน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ เท้าแบน โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือภาะขาดน้ำ เป็นต้น ซึ่งอาจต้องสังเกตอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมด้วย เพราะจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคต้นเหตุและเริ่มการรักษาได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือยาลดไขมันในกลุ่มสแตติน (Statins) หรือยาแก้ปวดอย่างยานาพรอกเซน (Naproxen) อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการตะคริวได้ ผู้ป่วยจึงอาจต้องปรึกษาแพทย์ในการบรรเทาอาการหรือปรับแผนการใช้ยา เพื่อให้ลดความเสี่ยงของการเกิดตะคริวให้น้อยลง
การป้องกันตัวเองจากการเกิดอาการตะคริว คุณสามารถทำตามขั้นตอนเบื้องต้นต่อไปนี้
1.หมั่นยืดกล้ามเนื้อ: ความตึงและการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุของตะคริว ดังนั้นคุณควรทำการยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เช่น การยืดกล้ามเนื้อในพื้นที่ที่มักเกิดตะคริว เช่น การยืดขาส่วนน่องโดยการเหยียดขาค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที แล้วทำซ้ำไปเรื่อยๆ ประมาณ 30 ครั้งต่อวัน
2.อาบน้ำหรือแช่น้ำอุ่น: น้ำอุ่นช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียด ซึ่งอาจช่วยลดอาการตะคริวในเวลากลางคืนได้
3.ดื่มน้ำให้เพียงพอ: การดื่มน้ำเพียงพอมีประโยชน์ไม่เพียงแต่สำหรับผิวพรรณ แต่ยังช่วยป้องกันตะคริวด้วย เนื่องจากอาการตะคริวอาจเกิดจากการขาดน้ำในร่างกาย ดังนั้นควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอเพื่อลดโอกาสเกิดตะคริว
4.บริโภคอาหารที่มีแคลเซียม: สำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียม โปแตสเซียม และแมกนีเซียม เนื่องจากแคลเซียมเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญสำหรับระบบกล้ามเนื้อ การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมเพียงพออาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดตะคริว
5.หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์บ่อยๆ: การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากหรือบ่อยครั้งอาจทำให้กล้ามเนื้อเสื่อมถอยและเพิ่มโอกาสในการเกิดตะคริว ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากหรือบ่อยครั้ง
อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการตะคริวอยู่บ่อยครั้งหรือรู้สึกว่ากล้ามเนื้อไดรับความเสียหายที่รุนแรง ควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องครับ
ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com
บทความ : ตะคริวกินขา ปัญหาสุขภาพ