WORLDMED CENTER Phi Phi

ลูกไม่กินผัก มีเทคนิครับมืออย่างไร ?

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ ลูกไม่กินผัก 

  1. ภาวะการกลัวอาหารชนิดใหม่ หรือที่ภาษาทางจิตวิทยาเรียกว่า Food neophobia คือพฤติกรรมที่เด็กจะกลัวการหยิบสิ่งที่มีรูปร่างหน้าตาไม่คุ้นเคยเข้าปาก ซึ่งก็รวมไปถึงอาหารหน้าตาแปลกใหม่ที่ไม่เคยรับประทานด้วย พฤติกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการวัยเตาะแตะ (18 – 30 เดือน) เป็นกลไกป้องกันตัวตามธรรมชาติที่ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กวัยซนหยิบจับสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าปาก และจะพัฒนาไปถึงขีดสูงสุดเมื่อเด็กมีอายุระหว่าง 2 – 6 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กกำลังเริ่มเลือกรับประทานอาหารและรสชาติที่ตัวเองชอบ เมื่อผนวกทั้งสองปัจจัยเข้าด้วยกัน ผลที่ตามมาคือ เด็กเลือกที่จะไม่รับประทานอาหารที่มีผักเป็นส่วนประกอบ 
  2. ผักมีรสขม เด็กๆ มักจะปฏิเสธรสขมเพราะไม่ถูกปาก ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะบรรพบุรุษมนุษย์เราก็มีสัญชาติญาณที่จะหลีกเลี่ยงรสขมและรสเปรี้ยวอยู่แต่เดิม รสขมของผักนี้เกิดจากสารอาหารในพืชที่เรียกว่า  Phytonutrient ซึ่งได้แก่สารจำพวก ฟีนอลส์ (phenols) โพลีฟีนอลส์ (polyphenols) ฟลาโวนอยด์ส (flavonoids) ไอโซฟลาโวนส์ (isoflavones) เทอร์ปีนส์ (terpenes) and กลูโคซิโนเลตส์ (glucosinolates) ซึ่งพืชสร้างขึ้นเป็นกลไกป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกแมลงศัตรูพืชกัดกิน แต่สารเหล่านี้ได้รับการยืนยันจากผลงานวิจัยหลากหลายชิ้นว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา ทั้งในแง่ของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการเกิดมะเร็ง และยังช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอกอีกด้วย ดังนั้น อาหารที่อุดมไปด้วยพืชผักใบเขียวและผักสีสันต่างๆ จึงมีคุณประโยชน์ ช่วยชะลอการเกิดโรค และส่งผลดีต่อร่างกายของเราอย่างยิ่ง 
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ ลูกไม่กินผัก 

6 เทคนิค ช่วยให้ลูกหันมารับประทานผักมากขึ้น

1.สร้างความเคยชิน
มื้อแรกที่เจ้าตัวเล็กได้กินผักสิ่งที่คุณแม่ต้องทำคือการผสมผักบด โดยเน้นให้เป็นผักสดที่ทำการต้มสุกและบดผสมลงไปกับข้าวในมื้อแรก ซึ่งคุณควรทำแบบนี้ทุกมื้อเพื่อให้ลูกมีความเคยชินและคุ้นเคยกับรสชาติของผัก และต้องเลือกผักที่ให้รสหวานและบดง่าย แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเวียนไปทุกวันจะช่วยให้เด็กๆ ชินกับรสชาติของผักนั่นเอง


2.ผักที่ทานต้องไม่ใหญ่จนเกินไป
เมื่อเด็กเริ่มทานข้าวแบบไม่ต้องบดแล้ว สิ่งที่คุณแม่ต้องทำคือการหั่นผักของลูกให้เป็นชิ้นพอดีคำ ทานง่าย จะช่วยให้เด็กๆ ทานได้มากขึ้นเพราะไม่ต้องมานั่งทานผักเคี้ยวนานๆ และการหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ยังช่วยให้ผักสุกง่ายอีกด้วย

3.ใช้ผักแทนขนมขบเคี้ยว
ผักอย่างแครอท มันฝรั่ง คะน้าอ่อน คุณสามารถทำให้สุกด้วยการต้มโดยก่อนที่จะต้มให้หั่นผักเป็นแท่งๆ แล้วต้มให้สุก เมื่อสุกแล้วก็นำไปแช่เย็น ระหว่างมื้ออาหารก็ใช้ผักเหล่านี้แทนขนมให้ลูกถือทานจะทำให้เด็กๆ ชินในรสชาติของผักและทานผักได้ง่ายขึ้นอีกด้วย


4.บอกประโยชน์ของผักให้ลูกได้รู้
การคุยกับลูกเพื่อให้ได้ทราบว่าผักแต่ละอย่างให้ประโยชน์อะไรบ้าง ก็เพื่อให้ลูกได้รับรู้ว่าหากอยากโตเร็วหรืออยากแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่ายๆ ว่าควรทานผักแบบไหนบ้าง เช่น ถ้าหนูอยากสวย ก็ต้องทานมะเขือเทศและแครอทให้มากๆ อยากให้แข็งแรงก็ต้องทานผักใบเขียว เป็นต้น

5.สรรค์สร้างเมนูผักให้น่ากิน
การทำให้ผักเป็นรูปร่างต่างๆ แลดูน่ารักน่ากินก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กๆ อยากลิ้มลอง หรืออาจทำผักให้เป็นรูปร่างต่างๆ แล้วชุบแป้งทอดก็สามารถทำให้ทานได้ง่ายมากขึ้น


6.ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น
การที่คุณคะยั้นคะยอให้ลูกทานผักแต่กับตัวคุณเองยังเลือกทานผักหรือไม่ทานผักเลยให้ลูกเห็นนั้น จะทำให้ลูกมีความรู้สึกได้ว่าผักนั้นต้องไม่อร่อยแน่นอน เพราะขนาดผู้ใหญ่ยังไม่กินเลย ดังนั้นหากอยากให้ลูกทานผักคุณก็ควรทานเป็นเพื่อนลูกด้วยเช่นกัน

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ ลูกไม่กินผัก 

         นอกจากนี้แล้วนวัตรกรรมใหม่ๆยังสามารถแปรรูปผักให้อยู่ในรูปแบบที่รับประทานง่ายขึ้นทั้งเยลลี่ เครื่องดื่ม หรือเป็นส่วนผสมในการปรุงแต่งอาหาร และอาหารเสริม ทั้งนี้การจัดมื้ออาหารจำเป็นต้องปรับให้มีความสมดุล ครบถ้วนทั้งห้าหมู คุณพ่อคุณแม่สามารถศึกษาข้อมูลและพฤติกรรมของลูกน้อยเพื่อการจัดโภชนาการสร้างสุขให้กับเด็กๆได้เรื่อยๆครับ

ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com

บทความ : อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ ลูกไม่กินผัก 

หน้าหลัก
กลับสู่หน้าหลักบทความ
Facebook Comments