WORLDMED CENTER Phi Phi

สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ จากการขาดการออกกำลังกาย

อาการของภาวะมวลกล้ามเนื้อพร่อง เป็นอย่างไร ?

         ภาวะมวลกล้ามเนื้อพร่อง (Sarcopenia) ซึ่งโดยปกติแล้วมักพบในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันกลับพบว่าภาวะนี้ก็สามารถเกิดขึ้นในกลุ่มอายุน้อยกว่า 60 ปีได้มากขึ้น ยิ่งในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ตลอดช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้กิจวัตรที่ปฏิบัติประจำถูกจำกัด บางท่านขาดการออกกำลังกาย หรือหลายท่านรับประทานอาหารที่มีโปรตีนไม่เพียงพอ ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุทำให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้

กลุ่มอาการที่พบจะประกอบด้วย
สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ จากการขาดการออกกำลังกาย
  • หนื่อยล้าง่าย เดิน วิ่งได้ระยะทางสั้นลง
  • ลุกยืนลำบาก
  • ขึ้นลงบันไดลำบาก
  • ทรงตัวได้ไม่ดี เซล้มง่าย
  • น้ำหนักลดลง กล้ามเนื้อเหลว
  • ยกของได้น้อยลง ล้าแขนง่าย
  • คุณภาพชีวิตลดลง และอาจเกิดโรคซึมเศร้า
  • นำไปสู่ภาวะกระดูกพรุนหรือภาวะติดเตียงได้เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

หากมีอาการที่สงสัยว่าเป็นภาวะกล้ามเนื้อพร่อง ควรรีบพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อเข้ารับการตรวจประเมินมวลกล้ามเนื้อ ด้วยเครื่องมือ Bioelectrical Impedence Analysis (BIA) หากพบว่ามวลกล้ามเนื้อน้อยแพทย์จะแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดด้วยโปรแกรมเฉพาะบุคคล เพื่อฟื้นฟูมวลกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย เพื่อให้สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ หรือเล่นกีฬาได้ดังเดิม

การป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อบกพร่อง (Sarcopenia)

สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ จากการขาดการออกกำลังกาย

ภาวะ Sarcopenia อาจป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวันอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อและร่างกายส่วนต่าง ๆ  แต่ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม และควรทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นโปรตีนเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แก่ร่างกาย

การรับประทานอาหารและอาหารเสริมก็มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อบกพร่อง ได้เช่นกัน

ผู้ป่วยภาวะ Sarcopenia อาจเพิ่มการรับสารอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ เช่น

  • 1.โปรตีนอย่างเนื้อสัตว์ ปลา ไข่หรือถั่วเหลือง จะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อและเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ อีกทั้งโปรตีนยังมีกรดอะมิโนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มการสร้างกล้ามเนื้อ
  • 2.ไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยเพิ่มการสร้างและช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ โดยผู้ป่วยสามารถรับประทานได้จากอาหารทะเลหรือในรูปแบบอาหารเสริม
  • 3.วิตามินดี เป็นวิตามินที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่กระดูกและกล้ามเนื้อ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียการทรงตัว
  • 4.ครีเอทีน เป็นสารอาหารที่พบได้มากในเนื้อสัตว์ หรืออาจรับประทานในรูปแบบอาหารเสริม

ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com

บทความ : สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ จากการขาดการออกกำลังกาย

หน้าหลัก
กลับสู่หน้าหลักบทความ
Facebook Comments