ออฟฟิศซินโดรม อาการเรื้อรังกวนใจชาวออฟฟิศ
ออฟฟิศซินโดรม อาการเรื้อรังกวนใจชาวออฟฟิศ ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร ? ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ ภาวะที่มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ ซึ่งเป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) เนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังได้
สัญญาณเตือน ออฟฟิศซินโดรม
- 1.ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง มักมีอาการปวดแบบว้างๆ ๆไม่สามารถชี้จุดหรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก
- 2.ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือในบางครั้งมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน
- 3.ปวดหลังเรื้อรัง เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง นั่งไม่ถูกท่า นั่งหลังค้อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ เมื่อย เกร็งอยู่ตลอด รวมถึงงานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูง
- 4.ปวดตึงที่ขา หรือเหน็บชา อาการชาเกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
- 5.ปวดตา ตาพร่า เนื่องจากต้องมีการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ หรือใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน
- 6.มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์ในท่าเดิมๆ นาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วหรือข้อมือล็อคได้
การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม
- ออกกำลังกาย เป็นประจำ
- พักการใช้กล้ามเนื้อ ลดการใช้โทรศัพท์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
- จัดท่าทางในการทำงานให้เหมาะสม ปรับโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะกับสรีระ
- อย่าจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป ควรพักสายตาบ้าง
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในอิริยสบถเดิมเป็นเวลานาน ให้เปลี่ยนอิริยาบถทุก 1-2 ชม.
- ทำท่าบริการยืดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ สะบัก แขน มือและหลัง เช้า- เย็น ท่าละ 3-4 ครั้ง ทุกวัน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้แจ่มใส
การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม
การรักษากลุ่มอาการ “ออฟฟิศซินโดรม ( Office Syndrome )” นั้นมีด้วยกันหลายวิธี อาทิ
1.ยา : ได้แก่ กลุ่มลดปวด คลายกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ (ควรทานยาตามคำสั่งแพทย์)
2. การประคบเย็น หรือร้อน เบื้องต้นตามสถานการณ์
3.การยืดเหยียดบริหารกล้ามเนื้อ แต่ละส่วน
4.พบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาและการกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือ หรือเทคนิคที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com
บทความ : ออฟฟิศซินโดรม อาการเรื้อรังกวนใจชาวออฟฟิศ