WORLDMED CENTER Phi Phi

อาหาร บำรุงกระดูกVSทำลายกระดูก

              อาหาร บำรุงกระดูกVSทำลายกระดูก สวัสดีท่านผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ พบกับสาระสุขภาพดีๆกับ Admin Worldmed กันอีกเช่นเคยครับ วันนี้พบกับเรื่องราวของอาหารที่จะทำให้ทุกท่านไหวตัวทันจากภาวะกระดูกพรุนนั่นเอง โดยจะจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คืออาหารที่บำรุงกระดูกและอาหารที่ทำลายกระดูก เพราะหากปรับพฤติกรรมช้า ไม่แน่ว่าสุขภาพกระดูกของท่านอาจวิกฤติแล้วก็เป็นได้ ติดตามไปพร้อมกันวันนี้ครับ

อาหาร บำรุงกระดูกVSทำลายกระดูก

มาเริ่มจากฝั่งของอาหารบำรุงกระดูก

อาหารบำรุงกระดูกถือได้ว่าพวกเยอะ ตัวเลือกมากมายทีเดียวสามารถแบ้งเป็น 6 กลุ่มสารอาหาร ได้แก่
อาหาร บำรุงกระดูกVSทำลายกระดูก

1.แคลเซียม : มีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างกระดูกที่แข็งแรงให้ ผู้ใหญ่ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม
อาหารกลุ่มแคลเซียมได้แก่ : นม  โยเกิร์ต  ชีส บรอกโคลี เทอร์นิพ ผักเคล ผักกาดกวางตุ้ง ถั่วฝัก ทูนากระป๋อง แซลมอน ซีเรียลหรือน้ำผลไม้แบบฟอร์ติไฟด์

2.โปรตีน : เนื่องจากโครงสร้างของกระดูกประมาณครึ่งหนึ่งมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ ร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับโปรตีนเพื่อสร้างเสริมกระดูกใหม่เมื่อมีการสึกหรอ

อาหารกลุ่มโปรตีนได้แก่ : เนื้อสัตว์(พยายามเลี่ยงไขมัน) เนื้อปลา คอททาจชีส เมล็ดพันธุ์

3.วิตามินดี : มีส่วนช่วยให้เลือดรับและใช้แคลเซียมรวมถึงสร้างแร่ธาตุในกระดูก หากอยู่ในช่วงพักฟื้นร่างกายหลังกระดูกหัก ควรได้รับวิตามินดีอย่างน้อย 600 IU ต่อวัน และคนที่มีอายุเกิน 70 ปี ควรได้รับสารอาหารชนิดนี้อย่างน้อยวันละ 800 IU
อาหารกลุ่มวิตามินดีได้แก่ : แซลมอน น้ำมันตับปลา ปลาซาร์ดีน ตับ  นมและโยเกิร์ตแบบฟอร์ติไฟด์  ไข่แดง น้ำส้มแบบฟอร์ติไฟด์

4.โพแทสเซียม : การรับประทานแร่ธาตุชนิดนี้อย่างเพียงพอจะช่วยให้คุณไม่เสียแคลเซียมเมื่อปัสสาวะ ซึ่งมีผลไม้สดหลายชนิดที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม
อาหารกลุ่มโพแทสเซียม ได้แก่ : กล้วย  น้ำส้มคั้น มันฝรั่ง ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพันธุ์  ปลา เนื้อ นม

5.วิตามินซี : วิตามินซีช่วยร่างกายผลิตคอลลาเจน ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญสำหรับกระดูก ทำให้กระดูกที่หักหายเป็นปกติ ซึ่งคุณสามารถพบวิตามินซีได้ในผลไม้และผักหลายชนิด เช่น ส้ม กีวี เบอร์รี น้ำมะเขือเทศ พริกไทย มันฝรั่ง ผักใบเขียว
หมายเหตุ * วิตามินซีสลายไปได้โดยง่าย ควรรับประทานแบบสดหรือแช่แข็ง โดยไม่ผ่านความร้อน

6.ธาตุเหล็ก : มีส่วนสำคัญในการทำเซลล์เม็ดเลือดแดงมีคุณภาพเพียงพอที่จะไปเลี้ยงบำรุงบาดแผลต่างๆ ธาตุเหล็กช่วยให้ร่างกายสร้างคอลลาเจนเพื่อสร้างกระดูกใหม่อีกครั้ง อีกทั้งยังช่วยให้ออกซิเจนเข้าไปในกระดูกเพื่อช่วยในการเยียวยาได้

อาหารกลุ่มธาตุเหล็ก ได้แก่ : เนื้อแดง  ไก่งวง  น้ำมันปลา ไข่  ผลไม้แห้ง ผักใบเขียว ขนมปังโฮลเกรน

มาดูทางฝั่งของ อาหารทำลายกระดูกกันบ้างครับ

อาหาร บำรุงกระดูกVSทำลายกระดูก

           แม้ว่าการทานโปรตีนจะเป็นการรับคุณประโยชน์เพื่อเสริมสร้างกระดูก แต่หากทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณสูงและต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดความเป็นกรดเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้แคลเซียมถูกดึงออกจากกระดูกเพื่อควบคุมความเป็นกรดในเลือด ผู้ที่กำลังลดน้ำหนักโดยการรับประทานโปรตีนอาจต้องระมัดระวังเนื่องจากความเสี่ยงที่สูงขึ้น ควรพิจารณาการรับประทานโปรตีนจากพืชแทน เช่น เต้าหู้ ถั่วเมล็ด เป็นต้น
อาหารบางประเภทอาจนำไปสู่โรคทางกระดูกและข้อบางโรค เช่น โรคเกาต์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ และยอดผักที่มีปริมาณกรดยูริคสูง เพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดข้อ บวมและเจ็บปวดได้ รวมถึง อาหารรสเค็มจัดที่มีปริมาณเกลือโซเดียมสูง เช่นผงชูรส สามารถทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากขึ้น ผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้อาจจะต้องใส่ใจรายละเอียดของส่วนประกอบอาหารที่บริโภคมากยิ่งขึ้นครับ

การดื่มก็เช่นเดียวกันครับ
1.การดื่มน้ำอัดลมไม่ว่าทั้งแบบปกติหรือไร้น้ำตาล สามารถทำให้กระดูกบางเพิ่มขึ้น เนื่องจากน้ำอัดลมสามารถดึงแคลเซียมออกจากกระดูกได้พอๆกัน

2.เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่นกาแฟ สามารถทำให้แคลเซียมถูกดึงออกจากกระดูก การดื่มกาแฟเกิน 3 แก้วต่อวันอาจเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสะโพกหักได้สูงถึง 3 เท่าของผู้ที่ไม่ดื่มหรือดื่มน้อยลง

3.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สามารถเป็นอันตรายต่อกระดูก แอลกอฮอล์สามารถทำลายเซลล์กระดูกโดยตรง และการดื่มเบียร์ และสุราทุกชนิดสามารถเพิ่มอัตราเสี่ยงการหักของกระดูกสะโพกและแขนได้ ผู้หญิงที่ดื่มเบียร์วันละ 2 ขวดมีอัตราเสี่ยงการเกิดกระดูกหักสูงกว่าคนที่ไม่ดื่มหรือดื่มน้อยอีกด้วย

        จะเห็นได้ว่าในกลุ่มสารอาหารสำหรับบำรุงกระดูกมีตัวเลือกที่สามารถเลือกจัดรวมกันได้ค่อนข้างใกล้เคียงอาหารหลัก 5 หมู่เลยที่เดียว นั่นสามารถสรุปได้ว่านอกจากจะเป็นการป้องกันโรคทางกระดูกแล้วยังส่งเสริมการรับโภชนาการอย่างครบถ้วนอีกด้วย และการเริ่มต้นบำรุงตั้งแต่วันนี้ย่อมดีกว่าการมาฟื้นฟูในภายหลัง แอดมินขอเป็นกำลังใจให้ผู้รักในสุขภาพทุกท่านครับ

ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com

บทความ : อาหาร บำรุงกระดูกVSทำลายกระดูก

หน้าหลัก
กลับสู่หน้าหลักบทความ
Facebook Comments