โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อันตราย
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อันตราย สวัสดีท่านผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ พบกับสาระสุขภาพดีๆกับ Admin Worldmed กันอีกเช่นเคยครับ วันนี้แอดมินพาทุกท่านมารู้จักกับหนึ่งในโรคที่มีสัญญาณทางสุขภาพค่อนข้างชัดและรุนแรงโรคหนึ่ง โรคนั้นคือ “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” ลองสังเกตดูว่า เมื่อคุณมีการออกแรง เช่น ยกของหนัก หรือ ออกกำลังกาย มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก บริเวณกลางหรือด้านซ้ายของเต้านม อาจรัดเป็นคล้ายก้อนหินแข็งบริเวณหน้าอก หรือไม่ ซึ่งเมื่อมีอาการนี้แสดงออกมาเป็นไปได้ว่าหลอดเลือดหัวใจของคุณอาจตีบตันไปเสียแล้ว วันนี้เราจึงมาดูอาการของโรค ปัจจัยเสี่ยง และวิธีดูแลตนเองสำหรับโรคนี้กันครับ
ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะนำพาคุณไปสู่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้
การสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนที่ไม่สูบ ซึ่งสารเคมีในบุหรี่อาจทำให้เกิดความเสียหายกับผนังหลอดเลือดได้
โรคเบาหวาน: โรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานานๆ อาจทำลายผนังของหลอดเลือดและเกาะสะสมคราบภายในผนังหลอดเลือดได้
ความดันโลหิตสูง: ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถกระตุ้นกระบวนการสะสมไขมันภายในผนังหลอดเลือดได้ เมื่อมีการสูบฉีดโลหิตแรงขึ้นเพื่อส่งไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น
โคเลสเตอรอลสูง: ระดับโคเลสเตอรอลสูงมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มโอกาสให้ไขมันเกาะผนังหลอดเลือดมากขึ้น
ความอ้วน: น้ำหนักตัวที่มากเกินไปหรือเป็นโรคอ้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น
การนั่งอยู่กับโต๊ะทำงานตลอดวัน: การนั่งเฉยๆ โดยไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
การรับประทานอาหาร: อาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลสูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจได้
การดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากและเป็นเวลานานสามารถเพิ่มปริมาณไขมันในเลือดและทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ลดลง
ความเครียด: ความเครียดหรือความคิดในเชิงลบอาจมีผลต่อสุขภาพร่างกายในหลายๆ ด้าน เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดหัวไมเกรน และอาจมีผลต่อหัวใจอีกด้วย
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
การวินิจฉัยโรคของแพทย์ : การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถทำได้โดยใช้เทคนิคการสวนสีหัวใจ ซึ่งจะเป็นการส่องกล้องเข้าไปภายในหลอดเลือดเพื่อตรวจสอบความตีบหรือตันของหลอดเลือดในบริเวณที่มีปัญหา
การทำบอลลูน: หลังจากการวินิจฉัยแล้วพบว่ามีหลอดเลือดตีบหรือตัน จะทำการรักษาโดยการทำบอลลูน โดยหมายถึงการใส่ขดลวดเข้าไปในหลอดเลือดเพื่อขยายหรือแก้ไขปัญหาหลอดเลือดที่ตีบตัน ขดลวดจะถ่างหรือดันของสะสมที่ขัดขวางทางเดินของหลอดเลือดออก ทำให้หลอดเลือดที่ตีบตันเป็นส่วนๆ โล่งขึ้น ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านได้สะดวกยิ่งขึ้น
การพัฒนาขดลวด: ในอดีตเมื่อใส่ขดลวดเข้าไปในหลอดเลือด หลอดเลือดอาจขยายตัวและกลับคืนสภาพเดิมเมื่อนำขดลวดออก ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดหดตัวและตีบเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม การพัฒนาขดลวดได้ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้สามารถใส่ไว้ในหลอดเลือดได้โดยไม่ต้องถอดออก และเพื่อป้องกันการพังผืดเกาะบริเวณรอบขดลวด ได้มีการเคลือบยาเพื่อป้องกันไว้ ทำให้หลอดเลือดคงสภาพได้ดีเหมือนเดิม โดยจะลดโอกาสให้เกิดปัญหาของการตีบตันหลอดเลือดน้อยลง
และส่งท้ายด้วย เกร็ดสาระการกินเพื่อลดความเสี่ยง
1.เลือกทานเนื้อสัตว์ที่ไม่มีมันหรือมีไขมันน้อย เช่น ปลา ไข่ เต้าหู้ ไก่ (ไม่ติดหนัง) หรือหมูเนื้อแดง
2.หลีกเลี่ยงการทานกะทิและเบเกอรี่ที่มีไขมันทรานส์
3.เลือกเมนูการปรุงอาหารเช่น ต้ม / ปิ้ง / ย่าง / นึ่ง แทนการผัดและทอด
4.หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
5.เลือกใช้น้ำมันทำอาหารอย่างเหมาะสม เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนล่า
6.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเค็มและอาหารแปรรูป
7.เพิ่มการทานเส้นใยจากผักและผลไม้ เพราะเส้นใยช่วยลดการดูดซึมไขมันในร่างกาย
โดยการปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสะสมไขมันในร่างกายและส่งเสริมสุขภาพที่ดีของระบบหัวใจและหลอดเลือดในร่างกาย ดังนั้น ควรรักษาสุขภาพอย่างรอบคอบโดยเฉพาะในเรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายเพียงพอ การลดความเครียด และการปฏิบัติตามแนวทางที่แพทย์แนะนำเพื่อลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com
บทความ : โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อันตราย