WORLDMED CENTER Phi Phi

3 กลุ่มยา อาจพาไตพัง

           3 กลุ่มยา อาจพาไตพัง สวัสดีท่านผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ พบกับสาระสุขภาพดีๆกับ Admin Worldmed กันอีกเช่นเคยครับ ขึ้นชื่อว่ายารักษาโรค ทุกท่านเมื่อทราบถึงสภาวะของตนเองก็จะต้องหายรักษา บางท่านอาจพบเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำ บางท่านอาจใช้ประสบการณ์ป่วยในการตัดสินใจซื้อยามารับประทานเอง แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแม้ว่ายาบางชนิดจะไม่ได้มีอันตราย แต่หากกินติดต่อกันนานๆก็อาจนำพาไปสู่ ภาวะไตวายหรือไตเสื่อมได้ครับ วันนี้เรามาดูกันครับว่ามียากลุ่มใดบ้างที่หากทานมากๆเข้าอาจพาไตพัง ติดตามไปพร้อมกันครับ

3 กลุ่มยา อาจพาไตพัง

3 กลุ่มยา อาจพาไตพัง

ยาชนิดที่ 1 ยาแก้ปวดในกลุ่ม เอ็นเสด ( NSAIDs)
3 กลุ่มยา อาจพาไตพัง

        ยาแก้ปวดในกลุ่ม เอ็นเสด ไม่ว่าจะเป็น ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน  ไดโคลฟีแนค ซึ่งยาเหล่านี้ เราสามารถหาซื้อได้ง่ายมากครับ แล้วก็เป็นที่นิยมใช้กัน เพราะว่าบางคนมีอาการปวดเรื้อรัง ไม่ว่าจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดข้อเท้า หรือว่าปวดกล้ามเนื้อ ก็จะใช้ยาเหล่านี้ ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ก็สามารถทำให้ไตวายไตเสื่อมได้เลยทีเดียวนะครับเพราะว่ายาในกลุ่มนี้ มันจะไปออกฤทธิ์ครับบริเวณเส้นเลือดที่ไต ทำให้เส้นเลือดที่ไตหดตัว ขณะเดียวกันนั้นเลือดก็จะไปเลี้ยงไตได้น้อยลง มีโอกาสทำให้ไตวายไตเสื่อมได้นั่นเองครับ หากเรามีอาการปวดเรื้อรังครับแนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่าครับ อย่าเพิ่งไปซื้อยามารับประทานเองติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะว่าจะทำให้ไตวายไตเสื่อมแล้วก็อาจจะต้องฟอกไตในอนาคตได้เลยครับ

ยาชนิดที่ 2 ยาขับปัสสาวะ

       ยาขับปัสสาวะส่วนใหญ่จะให้กับคนที่เป็นโรคหัวใจครับหรือว่าคนที่เป็นโรคไตเสื่อมเนื่องจากร่างกายขับน้ำออกจากร่างกายได้น้อย จึงจำเป็นที่จะต้องรับประทานยา จำพวกยาขับปัสสาวะเพราะมิเช่นนั้น น้ำอาจจะท่วมปอดหรือว่าทำให้ขาบวมได้ สำหรับยาขับปัสสาวะนั้นมีนับว่ามีประโยชน์ทีเดียวครับ แต่หากเรารับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปหรือว่าไม่จำเป็น ก็จะส่งผลทำให้ไตวาย ไตเสื่อมได้ครับ

3 กลุ่มยา อาจพาไตพัง
ยาชนิดที่ 3 ยาสมุนไพร
3 กลุ่มยา อาจพาไตพัง

                สมุนไพรเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไตวายได้ ในปัจจุบันครับมียาสมุนไพรเยอะแยะมากมายหลายยี่ห้อ ที่มีวางขายกันในท้องตลาด บางยี่ห้ออาจจะได้มาตรฐานบางยี่ห้ออาจจะไม่ได้มาตรฐานสิ่งที่ต้องทราบคือ แต่ละท่านก็จะเหมาะกับยาสมุนไพรที่แตกต่างกันไป ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเหมาะกับสมุนไพรทุกชนิด ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการใช้ และต้องตรวจสอบว่าในผลิตภัณฑ์นั้น ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาหรือ สำหรับใครที่มีโรคประจำตัวเยอะๆ ไม่ว่าจะเป็นความดัน ไขมัน เบาหวานหรือที่สำคัญที่สุดคนที่เป็นโรคไตอยู่ แนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ก่อนครับ ว่าเราสามารถที่จะรับประทานยาสมุนไพรนี้ได้หรือไม่เพื่อจะได้ปลอดภัยมากที่สุดครับ

ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com

บทความ : 3 กลุ่มยา อาจพาไตพัง

หน้าหลัก
กลับสู่หน้าหลักบทความ
Facebook Comments