DHA กรดไขมันสารพัดประโยชน์
DHA กรดไขมันสารพัดประโยชน์ ดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid) DHA คือ กรดไขมัน โอเมก้า-3 ชนิดหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้ว ร่างกายของคนเราสามารถผลิตสารดีเอชเอขึ้นมาเองได้ แต่จะผลิตได้ในปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงควรรับ DHA ผ่านการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน บทความวิจัยด้านสุขภาพระบุว่า ทารกที่ได้รับสารดีเอชเอไม่เพียงพอ อาจจะมีพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้ การแสดงออก และการจดจำสิ่งต่างๆ น้อยกว่าทารกที่ได้รับสารดีเอชเอมากเพียงพอต่อพัฒนาการของสมอง จึงสามารถสรุปได้ว่า DHA มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กๆ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อโภชนาการและสุขภาพของคนเรา เช่น ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล และไตรเอธิลกลีเซอรอล (Triethylglycerol) ในพลาสมา ควบคุมระดับไลโปโปรตีน (lipoprotien) และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและหน้าที่ของเกล็ดเลือด
บทความที่อ้างอิงถึงคุณสมบัติในการป้องกันอาการซึมเศร้า และลดความเครียด ของ กรดไขมัน DHA
งานวิจัยทางจิตเวชศาสตร์พบว่ากรดไขมันดีเอชเอ ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ ซึ่งกรดไขมันดีเอชเอถูกนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยซึมเศร้า และให้ผลในการรักษาที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับกรดไขมันชนิดนี้ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีระดับของกรดไขมันดีเอชเอในร่างกายต่ำจะมีโอกาสในการเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าปกติ
นักวิจัยญี่ปุ่นได้ค้นพบว่า โอเมก้า 3 นั้น ช่วยลดอาการซึมเศร้า และช่วยบรรเทาอาการเครียดได้
ในปี 1996 บทวิจัยตีพิมพ์โดย Journal of the American
Medical Association ได้ศึกษาและค้นพบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีโอกาสได้บริโภคปลามากกว่า มีอาการซึมเศร้า น้อยกว่าประชากรในประเทศที่บริโภคปลาน้อยกว่า
น้ำมันปลา โอเมก้า 3 เป็นสารตั้งต้นในการสร้างเลซิทิน ซึ้งหากขาดไป ทำให้เซลล์เยื่อบุอ่อนแอ ผนังหลอดเลือด เสียสมดุลภายใน แข็งกระด้าง เกิดการอักเสบ ตีบแข็ง ส่งผลต่อความเครียดตามมา หากขาดรุนแรง อาจก่อโรคซึมเศร้าได้ DHA ในน้ำมันปลา ยังเป็นสารสื่อประสาทสำคัญ บำรุงสมอง ให้ปลอดโปร่ง แจ่มใส ไม่เครียด ยังมีงานวิจัยพบว่ากรดไขมัน “โอเมก้า3” ที่ขาดไปในวัยรุ่น ส่งผลให้เกิดซึมเศร้า อีกทั้งชี้แนะว่า โอเมก้า3 น่าจะเป็นยุทธศาสตร์หลักในการป้องกันภาวะซึมเศร้า ซึ่งก็ส่งผลให้เครียด นอนไม่หลับ งานวิจัยพบว่า โรคซึมเศร้ามีอุบัติการณ์มาก ในสังคมที่กินปลาน้อย สันนิษฐานว่า เนื่องจากประสาทสมอง ทำงานไม่ต่อเชื่อม เพราะเซลล์ขาดโอเมก้า3 การขาดซึ่ง DHA ทำให้เซลล์เมมเบรน กระด้าง ไม่ต่อเชื่อมสัญญาณ ทำให้จำไม่ได้ ในผู้ดื่มสุราประจำ หรือเป็นพิษสุราเรื้อรัง มีการขาดโอเมก้า3 ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้มาก พบว่า แม่ที่ได้รับไขมันทรานส์ ผ่านนมแม่สู่เด็ก พลอยให้เด็กได้รับไขมันเลวไปด้วย ทำให้ผนังเซลล์ไม่สมประกอบ นอกจากเกิดภาวะดื้ออินซูลินแล้ว ระบบประสาทสมองก็ไม่เจริญ เกิดทั้งโรคอ้วนและซึมเศร้า(บทความจาก https://www.mmc.co.th)
ปริมาณความต้องการ DHA ในแต่ละช่วงวัย
- 1.เด็ก อายุต่ำกว่า 2 ปี รับประทานปริมาณ 10-12 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ส่วนเด็กอายุ 2 ปี ขึ้นไปอาจรับประทานปริมาณไม่เกิน 250 มิลลิกรัม/วัน
- 2.หญิงที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร รับประทานอย่างน้อย 200 มิลลิกรัม หรือรับประทาน DHA ที่ผสมกับ EPA ในปริมาณ 300-900 มิลลิกรัม/วัน
- 3.ผู้ใหญ่รับประทานอย่างน้อย 250-500 มิลลิกรัม/วัน
- 4.ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำหรือการรับรู้ รับประทานปริมาณ 500–1,700 มิลลิกรัม/วัน อาจช่วยพัฒนาการทำงานของสมอง
รู้จัก DHA กันแล้วมาดูแหล่งของสารอาหาร DHA กันจ้า
นมแม่
ปลาแมคเคอเรล
ปลาทูน่า
ปลาแซลมอน
ไข่ไก่
อาหารเสริมที่ได้มาจากจากการสกัด DHA
เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆในการเลือกอาหารเสริม DHA
1.เลือกอาหารเสริม DHA ที่มี EPA ผสมอยู่ด้วย การทำงานร่วมกันของ กรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 ทั้ง DHA และ EPA(Eicosapentaenoic) จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการลดไขมันในเลือด ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
2.เลือกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต GMP โดย GMP จะครอบคลุมถึงโรงงานและกระบวนการผลิตที่ดีมีความปลอดภัยทุกขั้นตอนด้วย
3.เลือกที่ DHA / EPA มากกว่า 300 mg. ในหนึ่งวัน
ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com
บทความ : DHA กรดไขมันสารพัดประโยชน์