สอนลูกให้มีความสุข ด้วยปรัชญาลากอม
เมื่อคุณแม่ต้อง…ดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์ จะมีเทคนิคอย่างไรบ้างน๊า? สวัสดีคุณแม่ผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่สาระประโยชน์ดีๆสำหรับคุณแม่และลูกน้อยกับ Motherife Tips EP. แรกครับ สำหรับตอนนี้ก็ว่ากันถึงเทคนิคการดูแลตัวเองซึ่งถือเป็นข้อปฏิบัติสำคัญสำหรับการเป็นคุณแม่มือใหม่ครับ ทีมงาน Motherife หวังว่าเนื้อหาใน EP. แรกนี้และสาระใน EP. ถัดไปจะเคียงข้างคุณแม่ ร่วมเดินทางสู่พัฒนาการที่สมวัยของเจ้าตัวเล็กไปพร้อมๆกันครับ
5 เทคนิค ดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์
5 เทคนิค ดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์
ดูแลตัวเองช่วงตั้งครรภ์ อย่าง Healthy & Strong ด้วย 5 เทคนิค
และนี่คือ 5 เทคนิคเบื้องต้นที่จะช่วยให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยมีแนวโน้มทางสุขภาพที่ดี
1.การฝากครรภ์ถือเป็นอันดับแรก
หัวใจสำคัญของการ ดูแลตนเองช่วงตั้งครรภ์ คือ “การฝากครรภ์” นั่นเองครับ เพื่อที่คุณแม่จะได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเข้ารับการรักษา รวมทั้งวางแผนการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคุณแม่ควรเข้ารับการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์ หรือให้เร็วที่สุดตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยแพทย์จะทำการนัดหมายเพื่อตรวจครรภ์ตลอดช่วงตั้งครรภ์ ไปจนถึงวันคลอดตามความเหมาะสมและตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขณะตั้งครรภ์
2.สารอาหารที่ดีมีผลต่อทารก
นอกจาก โปรตีนจาก เนื้อสัตว์ และ คาร์โบไฮเดรตจาก
ข้าวไม่ขัดสีแล้ว ใยอาหาร (ขิง กล้วย มะละกอ) แคลเซียม
(โยเกิร์ต ธัญพืช) ไอโอดีน กรดโฟลิค และ ธาตุเหล็ก
(งา ถั่วแดง) จะช่วยให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักที่พอดี
มีการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมองอย่างสมบูรณ์
3.พลังงานและการคุมน้ำหนัก
ควรได้รับพลังงาน 2,050 กิโลแคลอรีต่อวัน
ควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 350 กิโลแคลอรี
ควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 470 กิโลแคลอรี
4.ดูแลตนเองช่วงตั้งครรภ์ ด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมได้
การออกกำลังกายของคุณแม่ตั้งครรภ์จะช่วยให้ปอด หัวใจ กระดูก และกล้ามเนื้อ ของคุณแม่แข็งแรง ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนมากขึ้นด้วย คุณแม่สามารถเริ่มการออกกำลังกายได้ในช่วงหลังเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์ กิจกรรมได้แก่ การเดิน การว่ายน้ำ การเต้นแอโรบิค การปั่นจักรยานอยู่กับที่ โยคะ เป็นต้น แต่ที่ควรงด คือ การออกกำลังกายประเภทใช้แรงเยอะ หรือเกร็งหน้าท้องที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกได้
5.สภาพจิตใจของคุณแม่สัมพันธ์กับสุขภาพของทารก
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีความเครียด สารเคมีในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงทันที อาจทำให้เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักตัวน้อยเมื่อแรกเกิด มีความเสี่ยงเป็นออทิสติก หรือบกพร่องทางภาษา รวมทั้ง มีความเสี่ยงในพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน คุณแม่สามารถเริ่มต้นจากการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้ ควรหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จัดบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการพักผ่อนอย่างเหมาะสม หรือ รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 (เช่นข้าวโอ๊ต) ซึ่งช่วยเพิ่มการผลิตเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมอง จัดเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข และช่วยลดอารมณ์แปรปรวนได้ดีทีเดียว
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยสำคัญอีกมากมายที่คุณแม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ ทั้งการฝึกฝนทักษะการปั๊มน้ำนม การจดบันทึกการดิ้น การอุ้มทารก การสร้างพลังใจเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่สำหรับคนเป็นแม่ทีเดียวครับ Worldmed ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการดูแลสุขภาพทั้งภายในและภายนอก ขอให้คุณแม่ทุกท่านมีสุขภาพดีและเลี้ยงทารกได้อย่างราบรื่นครับ ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com
บทความ : ดูแลตนเองช่วงตั้งครรภ์ อย่าง Healthy & Strong ด้วย 5 เทคนิค