ลูกกินข้าวยาก ทำอย่างไรดี?
สวัสดีคุณแม่ผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ กลับมาพบกับสาระสุขภาพดีๆ สำหรับคุณแม่และลูกน้อยกับ Motherife tips กันอีกเช่นเคยครับ เรื่องของลูกไม่ค่อยกินข้าวหรือ ลูกกินข้าวยาก เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ชวนให้หลายๆบ้านหนักใจ และน่ากังวลไม่น้อย เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่กลัวลูกจะตัวเล็กกว่าเพื่อน ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จนส่งผลต่อการเจริญเติบโตตามวัย และอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมอง ปัญหาเหล่านี้รับมืออย่างไรได้บ้าง วันนี้เรามาแชร์วิธีส่งเสริมการรับประทานอาหารของเด็กๆกันครับ
ลูกกินข้าวยากทำอย่างไร ?
1.ทานอาหารอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา การกินอาหารพร้อมครอบครัว โดยธรรมชาติของเด็ก มักชอบเลียนแบบพ่อแม่ ข้อดีตรงนี้เองที่จะเป็นโอกาสให้คุณพ่อคุณแม่ทานอาหารเป็นแบบอย่าง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากอาหารมากขึ้น แถมยังสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นภายในครอบครัวอีกด้วยคร้าบ
2.ให้ลูกมีส่วนร่วม การให้ลูกได้มีส่วนร่วมเล็กๆน้อยๆในการทำอาหาร เช่น ให้ลูกลองจับ ช่วยหยิบอาหาร ทำให้เด็กได้สัมผัสกลิ่น รสชาติ และเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของอาหารก่อนและหลังปรุง ทำให้ลูกอยากรับประทานอาหารที่ตนเองมีส่วนร่วมในการทำมากขึ้นนั่นเองครับ และรวมไปถึงการให้เค้าได้เลือก จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำลวดลายการ์ตูนที่เค้าโปรดปราน เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการรับประทานอาหารนั่นเองคร้าบ
3.ต้องสม่ำเสมอในการฝึก ยกตัวอย่างครับ บางวันให้เค้ากินเอง บางวันแม่ป้อนให้ บางวันดุ บางวันใจดี ดังนั้นควรทำความเข้าใจกับสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆด้วยเช่นกันครับ เช่น หากคุณยายป้อนข้าวให้แต่คุณแม่ให้ลูกกินเองทำให้เด็กๆเกิดความสับสนได้ พฤติกรรมใหม่ที่คาดหวังว่าเค้าจะกินได้เองจึงอาจเกิดขึ้นช้าไปด้วยครับ
4.จับเวลาในการกิน เวลาที่ดีที่สุดในการกินอาหาร คือไม่เกิน 30 นาที ถ้าหมดเวลากินข้าวแล้วลูกยังไม่ยอมกินหรือกินได้น้อย ให้เก็บอาหารทันทีและไม่ให้กินขนมก่อนถึงมื้อต่อไป เป็นเป็นการกระตุ้นใหได้รับมื้ออาหารตามกลไกของร่างกายเด็กเองครับ
5.ทำอาหารต้องครีเอท: คุณแม่ลองสังเกตดูครับว่า เจ้าตัวเล็กนั้นชอบอาหารประเภทไหน ชอบทานเส้นๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว สปาเกต ตี้ หรือ ข้าวคลุกผักและเนื้อสัตว์ หรือเต้าหู้ ส่วนประกอบอื่นๆคุณแม่สามารถครีเอท ด้วยการใช้พิมพ์กดแครอทเป็นรูปสัตว์ หุงข้าวแบบใส่สีผสมอาหารธรรมชาติช่วยเพิ่มความน่ากินยิ่งขึ้นครับ อีกเรื่องสำคัญคือ ขนาดชิ้นอาหาร เช่นหมู ผัก ลูกชิ้น ไส้กรอก ควรจะทำให้ชิ้นเล็กลงทานง่าย เพื่อที่ลูกจะไม่คายออกมาเมื่อเค้ารู้สึกอึดอัดเวลาเคี้ยวยากๆ นั่นเองคร้าบ
6.จูงใจด้วยปฏิสัมพันธ์ เด็กๆส่วนใหญ่นั้นมักจะชอบฟังนิทาน และเชื่ออย่างจริงใจในสิ่งที่เราเล่าเสมอค่ะ เราจึงสามารถจูงใจลูกด้วยการเล่านิทานสนุกที่แฝงคำสอนให้รู้จักกินอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ และมีพฤติกรรมการกินที่ดีได้ด้วย ในอีกทางหนึ่งการให้ลูกดูการ์ตูนประกอบอาจเป็นวิธีจูงใจเด็กๆได้มากก็จริงครับ แต่เค้าจะมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อมากกว่า จนลืมที่จะสนใจการทานข้าว ในระยะยาวเด็กอาจจะติดเงื่อนไขว่าจะต้องเปิดการ์ตูนไปตลอดเวลากินข้าว เช่นนั้นแล้วเรามาสร้างสุขนิสัยการรับประทานที่ดีจากปฏิสัมพันธ์กับผู้ป้อน เพื่อให้เค้าโฟกัสกับการกินได้ดีขึ้นยิ่งขึ้นดีกว่าคร้าบ
7.ไม่บังคับลูกให้เริ่มกินอาหารที่ไม่คุ้นเคย อาหารที่เด็กๆไม่คุ้นเคย หรือมีกลิ่นฉุน เช่น ผักที่มีกลิ่นมีเสี้ยนมาก ผลไม้ที่กลิ่นแรง หรือเนื้อสัตว์ที่กลิ่นคาว เนื้อเหนียว สร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีในการกินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้คุณพ่อคุณแม่จะเชื่อว่าอาหารเหล่านั้นจะมีโภชนาการที่ดีเยี่ยม หากแต่สิ่งสำคัญคือเราต้องการให้ลูกรักที่ทาน ในระยะแรกอาจจะต้องพิถีพิถันในการปรุงเพื่อลดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ จนเค้าค่อยๆชินคร้าบ
8.ลองให้ลูกกินอาหารที่ได้รับสารอาหารทดแทนกัน ข้อนี้ตัวอย่างเช่น หากลูกไม่ชอบกินเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวยาก ก็อาจจะให้ลองกินเต้าหู้เพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีน ในระหว่างนั้นคุณแม่ลองทำเมนูเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวง่ายขึ้น เพื่อให้ลูกลองกินใหม่ในมื้อต่อไป หรือถ้าลูกกินผักได้น้อย อาจจะให้ลูกกินผลไม้หรือน้ำผลไม้แทน เพื่อให้ร่างกายยังได้รับวิตามินและเกลือแร่อย่างเพียงพอ เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 เบต้ากลูแคน ฯลฯ
เรื่องของโภชนาการนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเด็กๆครับ แต่นอกเหนือจากการฝึกนิสัยการรับประทานอาหารแล้ว คุณพ่ออาจต้องสังเกตสุขภาพของลูกๆอยู่ตลอดครับ ว่าการที่เค้าแหวะอาหาร มีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยหรือเปล่า เช่นปวดฟัน ปวดท้อง เบื่ออาหารเนื่องจากภาวะของโรค หากเป็นเช่นนั้นควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยต่อไปครับ
ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com
บทความ : ลูกกินข้าวยาก ทำอย่างไรดี?