WORLDMED CENTER Phi Phi

นอนกรนชนิดอันตราย เป็นอย่างไร?

นอนกรนชนิดอันตราย เป็นอย่างไร ? สวัสดีท่านผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ พบกับสาระสุขภาพดีๆกับ Admin Worldmed กันอีกเช่นเคยครับ วันนี้เป็นเรื่องของการนอนกรนครับ อาการที่อาจสร้างความกังวลใจให้หลายๆท่าน โดยบางท่านอาจไม่ทราบว่าตัวเองกำลังนอนกรน หรือไม่ทราบว่า เริ่มกรนตั้งแต่เมื่อไหร่ และการนอนกรนนั้นส่งผลต่อสุขภาพหรือไม่ วันนี้แอดมินจะพาทุกท่านมาไขคำตอบกันครับ

นอนกรนชนิดอันตราย เป็นอย่างไร ?

นอนกรนชนิดอันตราย แสดงอาการลักษณะใดบ้าง

นอนกรนชนิดอันตราย เป็นอย่างไร ?

ทำไมเราจึงนอนกรน 

โดยปกติคนเราเมื่อนอนหลับ กล้ามเนื้อต่างๆ จะมีการคลายหรือหย่อนตัวลง ซึ่งอวัยวะในช่องทางเดินหายใจของเราอย่าง เพดานอ่อน หรือโคนลิ้น ก็จะหย่อนลงมาทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบลงได้ โดยเฉพาะเวลาที่เรานอนหงาย พอช่องทางเดินหายใจมันแคบลง เวลาเราหายใจเอาอากาศเข้ามา ลมที่ผ่านช่องที่แคบนี้ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวเกิดการกระพือ (นึกภาพเวลาที่ลมเป่าลมผ่านหลอดเล็กๆ ) เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการกระพือ หรือสั่นสะเทือน ก็จะเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น และนี่ก็คือสาเหตุของการนอนกรนนั่นเองครับ ส่วนเสียงกรนที่เราได้ยินนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดการสั่น เช่น ถ้าเกิดการสั่นที่เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่ ก็จะทำให้เกิดเสียงกรน “ในลำคอ” หรือถ้าเกิดการสั่นที่เนื้อเยื่ออ่อนด้านหลังโพรงจมูก ก็จะทำให้เกิดเสียงกรน “แบบขึ้นจมูก”

ท่านที่นอนกรนอาจมีสาเหตุจาก
– น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เบื้องต้นดูได้จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ครับ
– ไขมันในช่องคอหนา
– ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนได้
– นอนกรนมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
– สูบบุหรี่เป็นประจำ
– ความเหนื่อยล้า 
– นอนหงายเป็นประจำ

การนอนกรนนั้นมีอันตรายอย่างไร ?
จริงๆแล้วการนอนกรนจะอันตรายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของการนอน ถ้าเป็น “ชนิดไม่อันตราย” อันเกิดจากเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ในช่องคอ เช่น ลิ้น ลิ้นไก่ เนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อนจะตกไปทางด้านหลัง ในคนที่ช่องคอแคบกว่าปกติ เนื้อเยื่อเหล่านี้จะขวางกั้นทางเดินผ่านของอากาศจึงเกิดเสียงกรนขึ้นก็ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เพียงแต่ก่อความรำคาญให้คนใกล้ชิดเท่านั้น แต่หากเป็น “ชนิดอันตราย” ก็จะเกิดภาวะที่เรียกว่า หยุดหายใจขณะหลับ อันเนื่องมาจากมีการอุดตันของทางเดินหายใจขณะหลับ ภาวะอุดตันทางเดินหายใจส่วนบน และระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ
นอนกรนชนิดอันตรายหยุดหายใจขณะหลับ ในเคสที่ผู้ป่วยมีช่องลำคอตีบมากจากอวัยวะต่างๆ ในช่องคอ เช่น ลิ้น ลิ้นไก่ เพดานอ่อนหย่อนยานมากๆ มีการขวางทางเดินหายใจจนถึงขั้นอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการกรนไม่สม่ำเสมอ กรนเสียงดังมาก อาจมีอาการสำลักน้ำลาย หรือสะดุ้งตื่นกลางดึก หรือมีอาการหายใจหอบเหมือนอาการขาดอากาศ การขาดอากาศบ่อยครั้งทำให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องต่อสุขภาพ ร่างกายหลายอย่าง

โดยการหยุดหายใจขณะนอนหลับจะเกิดขึ้นโดย
– สภาวะที่ไม่มีลมหายใจผ่านเข้า ออกทางจมูก หรือปาก เป็นเวลาอย่างน้อย 10 วินาที
– หายใจแผ่ว หรือสภาวะที่มีลมหายใจผ่าน เข้าออกทางจมูก หรือปากลดลงร้อยละ 50 หรือมากกว่า เป็นเวลาอย่างน้อย 10 วินาที โดยสังเกตได้จากการกระเพื่อมของทรวงอกและท้องลดลง(ผู้ประสบปัญหาอาจไม่ได้สังเกต)
ผลคือ  ระดับออกซิเจนในหลอดเลือดแดงจะต่ำลง ทำให้ออกซิเจนที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะหัวใจ สมอง ปอด เมื่อออกซิเจนในเลือดลดลงถึงระดับหนึ่ง ร่างกาย (โดยเฉพาะสมอง) จะมีกลไกตอบสนองภาวะนี้ โดยจะปลุกให้ตื่น มีอาการสะดุ้ง สำลักน้ำลายตนเอง เพื่อเปิดทางเดินหายใจและทำให้ออกซิเจนสามารถผ่านเข้าไปในปอดอีก แล้วสมองก็จะเริ่มหลับอีกครั้ง การหายใจจะเริ่มติดขัดอีก ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง สมองก็จะปลุกให้ตื่นอีกเป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ไปตลอดทั้งคืน ทำให้นอนหลับได้ไม่เต็มที่ การนอนหลับไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายมีผลกระทบถึงอวัยวะอื่นๆ เช่น ระบบหัวใจ ระบบไหลเวียนของเลือด สมอง ปอด ทำให้ความดันเลือดสูง เกิดภาวะโรคหัวใจขาดเลือด สุขภาพแย่ลงจนเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้

การรักษาการนอนกรนในปัจจุบัน 
ปัจจุบันจะรักษาโดยเทคนิคการแพทย์ โดยวิธีการผ่าตัด เพิ่มขนาดของทางเดินหายใจส่วนบนให้กว้างขึ้น การใช้เลเซอร์ หรือการใช้ยาทาน ยาพ่นจมูก ตรงนี้ท่านสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาได้อย่างเหมาะสม และสิ่งที่สำคัญคือต้องปรับพฤติกรรมที่นำไปสู่ความผิดปกติที่อาจนำไปสู่การนอนกรน เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ปรับท่านอน นอนศีรษะสูง นอนตะแคง ไม่ควรนอนหงาย และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงการพยายามเลิกสูบบุหรี่ครับ

ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com

บทความ : นอนกรนชนิดอันตราย เป็นอย่างไร ?

หน้าหลัก
กลับสู่หน้าหลักบทความ
Facebook Comments