4 โรคเสี่ยงเลี่ยงกาแฟด่วน
4 โรคเสี่ยงเลี่ยงกาแฟ ด่วน! สวัสดีท่านผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ พบกับสาระสุขภาพดีๆกับ Admin Worldmed กันอีกเช่นเคยครับ หลังจากที่แอดมินได้เคยเสนอสาระเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของกาแฟไปในหัวข้อก่อนๆ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่ามีท่านที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคบางโรค ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพได้แนะนำให้เลี่ยงกาแฟไปก่อน จะมีโรคใดบ้างนั้น ติดตามไปพร้อมกันครับ
มีโรคใดบ้างที่ควรงดการดื่มกาแฟ
โรคที่ 1 โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ใครที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่ หัวใจเต้นเร็วมากๆ เต้นพริ้วมากๆแนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟครับ เพราะว่ากาแฟอย่างที่ทราบกันคือจะมีคาเฟอีนที่จะยิ่งการกระตุ้นให้หัวใจของเราเต้นเร็วมากขึ้นครับ ส่งผลที่ไม่ดีต่อคนที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เมื่อรักษาหายแล้วหรือว่าควบคุมการเต้นหัวใจให้อยู่ในระดับปกติได้แล้ว ก็อาจจะดื่มกาแฟได้ครับ แต่อย่างไรก็ตามแนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนดีที่สุดครับ
โรคที่ 2 โรคนอนไม่หลับ ใครที่นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกแล้วนอนไม่หลับอีกเลย ลักษณะนี้แนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟเช่นกันครับ และเช่นเดียวกับข้อแรกครับ คาเฟอีนไปจะกระตุ้นประสาทของเราทำให้เราตื่นตัวอยู่เสมอ ดังนั้นหากเรายิ่งดื่มกาแฟเข้าไป ยิ่งถ้าดื่มก่อนนอนหรือช่วงหลังบ่ายสามเป็นต้นมา ก็จะทำให้คนที่เป็นโรคนอนไม่หลับ ยิ่งนอนไม่หลับหนักเข้าไปอีกครับ
โรคที่ 3 โรคไตเสื่อมระยะท้ายๆ ใครที่เป็นโรคไตเสื่อมเรื้อรังอยู่ยิ่งระยะท้ายๆนะตั้งแต่ 3B(อัตราการกรองลดลงปานกลางถึงมาก) ลักษณะนี้ต้องระมัดระวังในการดื่มกาแฟครับ เพราะว่าคนที่เป็นโรคไตเสื่อมเรื้อรังระยะท้ายๆ ความสามารถในการขับฟอสเฟตออกจากร่างกายก็จะต่ำลง ตัวกาแฟจะมีส่วนประกอบของฟอสเฟตอยู่เยอะ เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วก็จะส่งผลทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น และทำให้ฟอสเฟตเพิ่มสูงขึ้นในเส้นเลือดของเรา และเมื่อฟอสเฟตมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะไปดึงแคลเซียมออกจากกระดูกของเราทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนในคนที่เป็นโรคไตเสื่อมเรื้อรัง ดังนั้นใครที่เป็นโรคไตเสื่อมอยู่ต้องระมัดระวัง อาจจะดื่มกาแฟได้แต่ดื่มได้น้อยมากๆครับ
โรคที่ 4 โรคกระดูกพรุน คนที่เป็นโรคกระดูกพรุนอยู่ ต้องลดปริมาณการดื่มกาแฟลงอย่างเร่งด่วนครับเพราะว่ากาแฟจะไปลดการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย แถมยังมีฤทธิ์ในการขับแคลเซียมออกไปในปัสสาวะด้วย ทำให้แคลเซียมในร่างกายของเราลดลงได้ ซึ่งก็จะเป็นปัจจัยที่ยิ่งไปกระตุ้นโรคกระดูกพรุนให้หนักกว่าเดิมครับ
ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com
บทความ : 4 โรคเสี่ยงเลี่ยงกาแฟ ด่วน!
Facebook Comments
Post Views: 1