WORLDMED CENTER Phi Phi

ขาบวมอย่านิ่งนอนใจ สัณญาณบอกโรคที่คุณอาจไม่รู้

           ขาบวม อย่านิ่งนอนใจ สัณญาณบอกโรคที่คุณอาจไม่รู้ สวัสดีท่านผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ พบกับสาระสุขภาพดีๆกับ Admin Worldmed กันอีกเช่นเคยครับ พูดกันถึงเรื่องขาบวม นั่นถือเป็นอาการของผู้ป่วยที่มักประสบภาวะโรคต่างๆ แต่สำหรับบางท่านที่ไม่ค่อยได้ตรวจสุขภาพหรือไม่ค่อยได้ดูแลตนเองแล้วพบว่าตัวเองขาบวม บางที นี่อาจเป็นสัญญาณบอกโรคอะไรบางอย่างที่นิ่งนอนใจไม่ได้เลยครับ ว่าแต่จะเป็นโรคอะไรได้บ้าง ติดตามไปพร้อมกันวันนี้ครับ

ขาบวม อย่านิ่งนอนใจ สัณญาณบอกโรคที่คุณอาจไม่รู้

ขาบวมบอกโรคอะไร ?

ขาบวม อย่านิ่งนอนใจ สัณญาณบอกโรคที่คุณอาจไม่รู้

โรคที่ 1 โรคหัวใจล้มเหลว💗
โรคหัวใจล้มเหลวหรือว่าโรคหัวใจวายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขาบวมทั้ง 2 ข้างได้ โดยปกติแล้วหัวใจของเรามีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆตามร่างกาย เมื่อเลือดไปเลี้ยงที่ขาเสร็จแล้วเลือดก็จะกลับมาที่หัวใจของเรา แต่เมื่อหัวใจของเราเกิดความผิดปกติขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการขาดเลือด ลิ้นหัวใจรั่ว หรือหัวใจอักเสบ ก็จะทำให้หัวใจของเราล้มเหลว ความสามารถในการบีบเลือดออกจากหัวใจก็จะน้อยลง ส่งผลให้เลือดจากขากลับเข้าสู่หัวใจได้ช้าลงก็จะทำให้ขาบวมขึ้นเรื่อยๆ สำหรับท่านที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลวขาจะบวม 2 ข้าง หรือท่านลองสังเกตง่ายๆบริเวณหน้าแข้งของเรานั้น ให้เอานิ้วชี้ไปกดสัก 10 วินาที จะเห็นได้ว่ามีอาการบวมครับ ดังนั้นลองสังเกตอาการตนเองดูนะครับถหากพบว่ามีอาการขาบวม 2 ข้าง ประกอบกับมีอาการหอบเหนื่อย ใจสั่น แน่นหน้าอก ลักษณะนี้ให้รีบไปโรงพยาบาลด่วนครับ🚑 เนื่องจากคุณอาจจะหัวใจล้มเหลวแล้วก็เป็นได้ครับ


โรคที่ 2 โรคไตวายเฉียบพลัน 🫘
ไตมีหน้าที่ในการขับน้ำและขับของเสียออกจากร่างกายในรูปปัสสาวะ เมื่อไตของเราเกิดการวายเฉียบพลันขึ้น ก็จะทำให้ความสามารถในการขับน้ำออกจากร่างกายได้ลดลง ส่งผลทำให้มีอาการขาบวมขึ้นมา และก็อาจจะบวมบริเวณอื่นได้ด้วยครับ เช่นตาบวม หน้าบวม แขนบวมได้ ปรกอบกับมีอาการอื่นๆร่วมอย่างเช่นมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หอบเหนื่อยมากขึ้น ลักษณะนี้ก็เข้าข่าย เป็นสัญญาณของโรคไตวายเฉียบพลัน ทราบอย่างนี้แล้วอย่านิ่งนอนใจครับรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยดีที่สุดครับ


โรคที่ 3 โปรตีนรั่วในปัสสาวะ 💧
โดยปกติแล้วไตจะทำหน้าที่เป็นตัวกรองโปรตีนกลับเข้าสู่เส้นเลือดของเรา แต่เมื่อไตของเราเกิดความผิดปกติขึ้นมาทำ ให้ไตไม่สามารถที่จะกรองโปรตีนได้ โปรตีนก็จะหลุดเข้าไปในทางปัสสาวะ ซึ่งปกติจะมีหน้าที่ในการดึงน้ำเข้าสู่เส้นเลือด แต่เมื่อร่างกายเสียโปรตีนไปมากๆ ก็จะทำให้น้ำในเส้นเลือดออกมาบริเวณเซลล์ของเราส่งผลทำให้ขาของเราบวมนั่นเองครับ และนอกจากขาบวมแล้ว ยังอาจมีอาการหน้าบวม มีอาการปัสสาวะเป็นฟอง ยิ่งพบว่ามีฟองเยอะๆ ก็ต้องสงสัยได้ว่าอาจจะมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะครับ


โรคที่ 4 เส้นเลือดดำที่ขาอุดตัน 🩸
โดยปกติแล้วเมื่อเลือดมาเลี้ยงที่ขาก็จะผ่านมาทางเส้นเลือดแดง และเมื่อเลี้ยงขาเสร็จแล้วก็จะกลับเข้าสู่หัวใจด้วยเส้นเลือดดำ แต่หากเส้นเลือดดำที่ขาอุดตันขึ้นมา ก็จะทำให้เลือดไม่สามารถที่จะวิ่งกลับเข้าสู่หัวใจของเราได้ ก็จะทำให้ขาบวมขึ้นมาเรื่อยๆ วิธีสังเกต คือ ถ้าเป็นเส้นเลือดดำส่วนใหญ่จะบวมแค่ขาเดียว รวมกับจะมีอาการปวดที่บริเวณขา ดังนั้นใครที่ขาบวมข้างเดียวแบบนี้ให้สงสัยว่าอาจจะมีเส้นเลือดดำที่ขาอุดตันอุดตันครับ


โรคที่ 5 ติดเชื้อที่ขา
สำหรับภาวะนี้จะมีอาการบวมแดงร้อนแล้วก็ปวด บางท่านอาจมีไข้หนาวสั่น ดังนั้นลองสังเกตดูครับถ้าขาของเรามีอาการบวมแดงมากๆ จับแล้วรู้สึกร้อน ก็ต้องสงสัยว่าอาจจะมีการติดเชื้อที่ขาของเราได้ครับ หากได้รับการรักษาล่าช้าก็อาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดและการทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียวครับ 🚑

          จากอาการข้างต้นเราสามารถสร้างเกราะป้องกันได้ครับ หนึ่งในวิธีเหล่านั้นคือ การลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงครับ หากร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป ร่างกายจะดูดซึมน้ำเก็บไว้ที่ ”ใต้ผิวหนัง” มากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้และหากบริโภคเกินความต้องการของร่างกาย เป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เป็นโรคไต ความความดันฯ โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งสัมพันธ์กันกับอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นครับ

*สำหรับผู้ใหญ่ ปริมาณโซเดียมที่แนะนำ คือไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับเด็กอายุ 2-15 ปี ปริมาณโซเดียมควรลดสัดส่วนตามความต้องการพลังงานที่ลดลง หรือสามารถสังเกตได้จากฉลากโภชนาการที่อยู่บนซองอาหารครับ

ติดตามสาระใน EP.ถัดไปได้ที่ช่องทางนี้ หรือ www.worldmedsolution.com

บทความ : ขาบวม อย่านิ่งนอนใจ สัณญาณบอกโรคที่คุณอาจไม่รู้

หน้าหลัก
กลับสู่หน้าหลักบทความ
Facebook Comments